การเรียนรู้การวางแผนและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวด้วยโครงการและ การมีส่วนร่วมของชุมชน
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้จากการเรียนวิชาการวางแผนและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวด้วยการทำโครงการและการมีส่วนร่วมของชุมชน ประเมินความพึงพอใจของชุมชนต่อนักศึกษาและการเรียนการสอนการวางแผนและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งเพื่อศึกษาแนวทางการเรียนการสอนวิชาการวางแผนและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่เหมาะสม ในการเรียนการสอนนักศึกษาเรียนรู้ผ่านโครงการออกแบบและพัฒนาระบบสื่อความหมายเพื่อการท่องเที่ยว ร่วมกับชุมชนโมคลาน อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชา การวางแผนและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว สาขาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ชั้นปีที่ 3 สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จำนวน 11 คน ทำการศึกษาโดยการสังเกต การใช้แบบประเมินการเรียนรู้ที่นักศึกษาได้รับจากการเรียน โดยใช้แบบสอบถาม การให้นักศึกษาสะท้อนผลการเรียนรู้ในลักษณะปลายเปิด และศึกษาความพึงพอใจของชุมชน และผู้นำชุมชนจำนวน 15 คน โดยใช้แบบสอบถาม ผลการศึกษาพบว่าค่าเฉลี่ยด้านการเรียนรู้ของนักศึกษาในภาพรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก (= 4.17) โดยมีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุดใน 4 ประเด็น ได้แก่ นักศึกษาสามารถทำงานร่วมกับเพื่อน และชุมชนได้ ( = 4.55) นักศึกษามีความรับผิดชอบจากงานที่ได้รับมอบหมาย ( = 4.55) นักศึกษามีความสามารถพูดสื่อความหมายในที่สาธารณชนได้อย่างมั่นใจ ( = 4.36) และนักศึกษาสามารถประยุกต์องค์ความรู้ทั้งหมดเพื่อใช้ในการออกแบบและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ( = 4.27) นอกจากนี้พบว่าชุมชนมีระดับความพึงพอใจเฉลี่ยต่อนักศึกษาและการเรียนการสอนทั้ง 5 ด้านในระดับมากที่สุด (= 4.22) นักศึกษาได้สะท้อนให้เห็นความสำคัญของการทำงาน การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน และการทำงานที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง เป็นสิ่งที่นักศึกษาภาคภูมิใจและอยากทำงานในด้านนี้ต่อไป ข้อเสนอแนะของการศึกษาในครั้งนี้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการเรียนการสอนที่ควรจัดการเรียนการสอนให้นักศึกษาได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติจริงในลักษณะของการเรียนรู้ด้วยโครงการ (Project-based Learning) ซึ่งนักศึกษาจะได้ใช้ความรู้และได้ปฏิบัติจริง อีกทั้งการทำโครงการจะเป็นประโยชน์ต่อชุมชนที่มีความต้องการด้านการวางแผนและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวซึ่งจะได้ประโยชน์ทั้งต่อนักศึกษาและชุมชน คำสำคัญ: การเรียนรู้เชิงรุก การวางแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว การเรียนรู้ด้วยโครงการ ชุมชนท้องถิ่น ABSTRACT The objectives of this study were aimed at learning of tourism destination planning and development with project-based learning and local community participation; evaluating community satisfaction about students and learning of tourist destination planning and development and studying instruction with proper guidelines for the subject of tourism destination planning and development. In instruction for university students engaged in Design and Interpretation System Development for Tourism Project in cooperation with Mokkhalan Community, Tha Sala District, Nakhon Si Thammarat Province. The study was conducted by observation and the use of evaluation scales on the learning of the students, having the students reflect their learning achievements in the form of open-ended questions and studying the satisfaction of the Community and 15 leaders of the Community by using questionnaires. According to the research findings, the mean scores for the students’ overall learning in terms of four aspects were high (= 4.17) with the highest of the four aspects being the students’ ability to work together with peers and the Community ( = 4.55); the students’ responsibility for assigned work ( = 4.55); the students’ ability to engage in confident verbal communications with the public ( = 4.36) and the students’ ability to apply the entire body of knowledge for use in tourist destination design and development ( = 4.27). In addition, the Community was found to have the highest mean scores for satisfaction in the students and instruction in all five aspects (= 4.22). The students reflected the importance of working on the development of community-based tourist destinations and performing work potentially leading to genuine benefits, which was a matter of pride for the students. Hence, the students would like to keep working in this area. The recommendations from this study indicate the importance of arranging instruction for students that includes both learning and practice in the form of project-based learning. Thus, students can apply what they have learnt and practiced. Furthermore, performing projects can be of benefit for communities with needs for tourist destination planning and development to benefit both students and communities. Keywords: Active Learning, Tourism Destination Planning and Development, Project-Based Learning Local Community
Article Details
How to Cite
เฉียบแหลม อ. (2017). การเรียนรู้การวางแผนและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวด้วยโครงการและ การมีส่วนร่วมของชุมชน. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 12(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/9841
Section
บทความวิจัย (Research Articles)