รูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูในการพัฒนาการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารแผนการทดลองวิธีแบบผสม
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูในการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในระยะที่ 3 โดยประเมินความสามารถในการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของครูโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาและทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (อังกฤษ) จำนวน 6 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 38 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบทดสอบมาตรฐาน แบบประเมินประสิทธิผลในการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร แบบทดสอบทักษะในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการประเมินความสามารถในการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของครูที่ได้ดำเนินตามรูปแบบการพัฒนาชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพครูในการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารหลังการใช้รูปแบบทั้ง 5 ด้าน ผลการประเมินคะแนนเพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 46.10 เป็นร้อยละ 83.90 2) ผลการประเมินทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ตามกรอบของ CEFR ซึ่งประกอบด้วยทักษะต่าง ๆ ดังนี้ 1) ทักษะการฟัง 2) ทักษะการพูด 3) ทักษะการอ่าน 4) ทักษะการเขียน 5) คำศัพท์ และ6) ไวยากรณ์ เพิ่มสูงขึ้นในเชิงปริมาณจากร้อยละ 43.00 เป็นร้อยละ 61.74 สนับสนุนด้วยข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิธีการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและการเขียนอนุทินการเรียนรู้ (open-ended journaling) คำสำคัญ: รูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู แผนทดลองวิธีแบบผสม ABSTRACT The study aimed to 1) contextual study teachers’ efficacy in communicative English teaching and professional development. 2) develop a communicative English Learners for professional learning communities. The 6 participants were English teachers and 38 students, consisted by purposively selected. The third phase was the instructional model implementation. The third-phase embedded design: experimental model by quantitative dominant of mixed methods studied. The design was used to investigate and analyze the data from the Instruction model in the third level: Implementation (Revising). The collecting data were 1. a total Communicative English Teaching Efficacies, 2. a total communicative English learners’ skills as 1) listening, 2) speaking, 3) reading, 4) writing 5)vocabulary and 6) grammatical skills, 3. Interviews (Reflection Forms) and 4. Wrote Open – ended journaling. The results of the research were as follows: 1. The results of a total communicative English teaching skills were increased from 46.10 percentage to 83.90 percentage for before and after respectively. 2. The results of a total communicative English learners’ skills were increased from 43.00 percentage to 61.74 percentage for before and after respectively. Keywords: Professional Learning Communities Model, Communicative English Teaching, Mixed Methods
Article Details
How to Cite
ชินกร พ., วงษ์สะพาน ม., & สอนสุภาพ ก. (2017). รูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูในการพัฒนาการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารแผนการทดลองวิธีแบบผสม. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 12(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/9834
Section
บทความวิจัย (Research Articles)