การศึกษาปัญหาสุขภาพจิตของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่างกัน ในโครงการสุขภาพจิตโรงเรียน สังกัดกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

แกมแก้ว โบษกรนัฏ

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหาสุขภาพจิต ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกันในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ในปัจจัยด้านตัวเด็กและปัจจัยด้านครอบครัวเป็นการวิจัยเชิงพรรณนา โดยมีวิธีการสุ่มกลุ่มแบบหลายขั้นตอนและสุ่มอย่างเป็นระบบ กลุ่มตัวอย่างมีจำนวนทั้งสิ้น 364 คน ชายจำนวน 191 คน หญิงจำนวน 173 คน แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำจำนวน 178 คนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงจำนวน 186 คน สถิติที่ใช้ คือ สถิติทดสอบค่าที (t-test) และไคสแคว์ (Chi-square) เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบคัดกรองโรคสมาธิสั้นในเด็กและวัยรุ่นไทย, แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้า, แบบคัดกรองภาวะวิตกกังวล, แบบสำรวจอารมณ์และพฤติกรรมเด็ก, แบบสอบทักษะพื้นฐานทางวิชาการและแบบคัดกรองนักเรียนที่มีภาวะสมาธิสั้น บกพร่องทางการเรียนรู้และออทิซึม ผลการศึกษาพบว่า 1) นักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่างกันมีปัญหาสุขภาพจิตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในความสามารถทางการเรียน ด้านสะกดคำและด้านความเข้าใจประโยค 2) ปัจจัยด้านเพศมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมดื้อต่อต้านปัญหาสมาธิสั้นและความสามารถทางการเรียนด้านการสะกดคำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ปัจจัยด้านสถานภาพสมรสของบิดามารดามีความสัมพันธ์กับความสามารถทางการเรียนด้านการคำนวณทางคณิตศาสตร์, ภาวะออทิซึมและปัญหาสมาธิสั้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คำสำคัญ: ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ปัญหาสมาธิสั้น ออทิซึม ความสามารถทางการเรียน โรคการเรียนรู้บกพร่องพฤติกรรมดื้อต่อต้าน ภาวะซึมเศร้า ภาวะวิตกกังวล ABSTRACT The aim of this research was to study the mental health problems through self and family factors of grade 4th – 6th students with different academic achievement in Bangkok metropolitan schools in self factor and family factor. The cross-sectional descriptive research design, multi-stage sampling and systematic random sampling were used in this study. The sample group was students in total of 364 students. There were 191 male students and 173 female students. Participants were divided into 2 groups; there were 186 students who had high academic achievement and 178 students with low academic achievement. T-test and Chi-square Statistics were used to analyze the data. The instruments that were used in this research; Thai ADHD Screening Scales, Depression Inventory, Anxiety Inventory, Pediatric Symptom Checklist-17, Kasetsart Basic Academic Skills Test, KUS-SI Rating Scales. The results showed that; 1) The students who had different academic achievement had significantly different mental health problems which were learning abilityin spelling and understanding sentences at p = .05.2) Sex factor had a correlation with resisting behavior, ADHD and spelling abilityat p = .053) Parents’ marital status factor had a correlation with mathematic skills, autism and ADHDat p = .05. Keyword: Academic Achievement, Attention-Deficit/Hyperactivity Disorder, Autism Spectrum Disorder, Learning Ability, Specific Learning Disorder, Oppositional Defiant Disorder, Depress, Anxiety

Article Details

How to Cite
โบษกรนัฏ แ. (2017). การศึกษาปัญหาสุขภาพจิตของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่างกัน ในโครงการสุขภาพจิตโรงเรียน สังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 12(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/9826
Section
บทความวิจัย (Research Articles)