การเสริมสร้างการทำหน้าที่ของบิดามารดาในการดูแลบุตรธิดาที่มีความบกพร่อง ทางการเรียนโดยการให้การปรึกษาครอบครัวที่มุ่งเน้นการรู้คิด-พฤติกรรม
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการทำหน้าที่ของบิดามารดาในการดูแลบุตรธิดาที่มีความบกพร่องทางการเรียน2) เพื่อพัฒนารูปแบบการให้การปรึกษาครอบครัวที่มุ่งเน้นการรู้คิด-พฤติกรรมเพื่อเสริมสร้างการทำหน้าที่ของบิดามารดาในการดูแลบุตรธิดาที่มีความบกพร่องทางการเรียนและ 3) เพื่อประเมินผลของการใช้รูปแบบการให้การปรึกษาครอบครัวที่มุ่งเน้นการรู้คิดพฤติกรรมเพื่อเสริมสร้างการทำหน้าที่ของบิดามารดาในการดูแลบุตรธิดาที่มีความบกพร่องทางการเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 24 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบวัดการทำหน้าที่ของบิดามารดา ในการดูแลบุตร ธิดา ที่มีความบกพร่องทางการเรียน 2) รูปแบบการให้การปรึกษาครอบครัวที่มุ่งเน้นการรู้คิด-พฤติกรรมเพื่อเสริมสร้างการทำหน้าที่ของบิดามารดาในการดูแลบุตรธิดาที่มีความบกพร่องทางการเรียนมีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง .66-1.00 ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1) การทำหน้าที่ของบิดามารดาในการดูแลบุตรธิดาที่มีความบกพร่องทางการเรียนมีค่าเฉลี่ย โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) รูปแบบการให้การปรึกษาครอบครัวเพื่อเสริมสร้างการทำหน้าที่ของบิดามารดาในการดูแลบุตรธิดาที่มีความบกพร่องทางการเรียนพัฒนาจากแนวคิดและเทคนิคของทฤษฎีการให้การปรึกษาครอบครัวที่มุ่งเน้นการรู้คิด-พฤติกรรม 3) การประเมินผลของการใช้รูปแบบการให้การปรึกษาครอบครัวที่มุ่งเน้นการรู้คิด-พฤติกรรมพบว่าการทำหน้าที่ของบิดามารดาในการดูแลบุตรธิดาที่มีความบกพร่องทางการเรียนเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนได้รับการให้การปรึกษาครอบครัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 และหลังการติดตามผลเพิ่มขึ้นมากกว่าของกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) ผลสนทนากลุ่มเฉพาะพบว่าบิดามารดากลุ่มทดลองมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มเป็นอย่างมาก สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันของตนเองได้ มีการเปลี่ยนแปลงทางบวกในการทำหน้าที่ของบิดามารดา คำสำคัญ: การทำหน้าที่ของบิดามารดา การดูแลบุตรธิดาที่มีความบกพร่องทางการเรียน การให้การปรึกษาครอบครัวที่มุ่งเน้นการ รู้คิด-พฤติกรรม ABSTRACT The purposes of this research were 1) to study parental functioning for caring children with learning disabilities, 2) to develop a cognitive-behavioral family counseling model for enhancing parental functioning for caring children with learning disabilities, and 3) to evaluate the effect of the cognitive-behavioral family counseling model for the enhancement of parental functioning for caring children with learning disabilities. The sample of 24 subjects was divided into 2 groups: classified as anexperimental group and a control group. Each group consisted of 12 parents. The research instruments were 1) the parental functioning for caring children with learning disabilities scale and 2) the cognitive-behavioral family counseling model for enhancing parental functioning for caring children with learning disabilities with IOC ranged from 0.66-1.00. The research results were as follows: 1) The total mean score and each dimension score of the parental functioning for caring children with learning disabilities were high. 2) The cognitive-behavioral family counseling model for enhancing parental functioning for caring children with learning disabilities included concepts and techniques of the cognitive-behavioral family counseling theory. 3) The evaluation of the effect of cognitive-behavioral family counseling model as follows: The parental functioning for caring children with learning disabilities of were significantly higher than before the experiment at .01 level. After the follow up were significantly higher than that of the control group at .01 level.4) Focus group report of the experimental group showed that they were highly satisfied with the model and gained more knowledge in applying for their living. There were positive changes in parental functioning . Keywords: Parental Functioning, Caring Children with Learning Disabilities, Cognitive-Behavioral Family Counseling.
Article Details
How to Cite
ชัยชาญ ก. (2017). การเสริมสร้างการทำหน้าที่ของบิดามารดาในการดูแลบุตรธิดาที่มีความบกพร่อง ทางการเรียนโดยการให้การปรึกษาครอบครัวที่มุ่งเน้นการรู้คิด-พฤติกรรม. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 12(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/9823
Section
บทความวิจัย (Research Articles)