รูปแบบการเสริมสร้างวินัยนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดปทุมธานี
Main Article Content
Abstract
ทคัดย่อการวิจัยครั้งนี้ ใช้การวิจัยแบบผสมวิธี (Mixed Method) โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการเสริมสร้างวินัยนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี 2) เพื่อสร้างรูปแบบการเสริมสร้างวินัยนักเรียนในสถานศึกษาดังกล่าว และ 3) เพื่อความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการเสริมสร้างวินัยนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีที่สร้างขึ้นโดยดำเนินการ 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอน 1 ศึกษาสภาพการเสริมสร้างวินัยนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู และบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี จำนวน 302 คน และสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้อำนวยการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดปทุมธานี จำนวน 10 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง ขั้นตอน 2 สร้างรูปแบบการเสริมสร้างวินัยนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังกล่าวพร้อมทั้งตรวจสอบความเหมาะสม และความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบไปใช้ โดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารการศึกษา จำนวน 17 คน ขั้นตอน 3 ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบที่สร้างขึ้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และการประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. สภาพการเสริมสร้างวินัยนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี อยู่ในระดับมากทั้ง 5 ด้าน โดยเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือ การประสานงาน การวางแผน การแบ่งทรัพยากร การกระตุ้นและจูงใจ และการประเมินผล 2. รูปแบบการเสริมสร้างวินัยนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี ที่สร้างขึ้นประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ 1) การกำหนดนโยบายในการจัดการเรียนรู้และบูรณาการหลักสูตรไปใช้เพื่อการพัฒนาการเสริมสร้างวินัยนักเรียน 2) การจัดสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนให้เอื้อต่อการจัดกิจกรรมพัฒนาความมีวินัยนักเรียน 3) การประกาศเกียรติคุณนักเรียนผู้ทำคุณงามความดี มีวินัยในตนเองให้เป็นแบบอย่างที่ดี 4) การสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับครู ครอบครัว ชุมชน สังคม หน่วยงานอื่นทั้งภาครัฐและเอกชนในการเสริมสร้างวินัยนักเรียน และ 5) การนิเทศติดตามผลการเสริมสร้างวินัยนักเรียนอย่างเป็นระบบผลการตรวจสอบความเหมาะสม และความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบไปใช้อยู่ในระดับมากที่สุด 3. การประเมินผลความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบที่สร้างขึ้นโดยภาพรวมอยู่ใน ระดับมาก คำสำคัญ : รูปแบบการเสริมสร้างวินัยนักเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี ABSTRACT This mixed method research had purposes : 1) to study current state of students’ discipline enhancement in basic education schools, Pathum Thani Primary Educational Service Area Offices, 2) to construct a model of students’ discipline enhancement in the basic education schools, and 3) to evaluate satisfaction with the constructed model. This research consisted of 3 stages: Stage 1, to study current state of students’ discipline enhancement in basic education schools, Pathum Thani Primary Education Service area offices. The sample included 302 teachers and educational personal in Pathum Thani Primary Education Service area offices. Also the in-depth interview with key informants of 10 school administrators by purposive sampling ; Stage 2, to construct the students’ discipline enhancement in basic education schools by reviewing and proving of 17 experts in educational administration ; Stage 3, to evaluate the satisfaction with the developed students’ discipline enhancement model. The research instruments composed the questionnaire, structured interview form and evaluation form. The statistics used in data analyses were percentage, mean standard deviation and the content analysis. 151The findings revealed as follows:- 1. The overall current state of students’ discipline enhancement in basic education schools, Pathum Thani Primary Educational Service Area Offices was in all 5 aspects at the high level, running in the order of means from high to low, namely coordination, planning, resources sharing, motivation and evaluation, respectively. 2. The construction of the students’ discipline enhancement in basic education schools composed 5 components, namely 1) learning management policy and curriculum integral of discipline enhancement, 2) school environmental settings contribute and enhancing students’ discipline, 3) rewarding and recognizing the students with good discipline as a role model for others, 4) creating discipline enhancement network with teachers, families, communities or other public and private organizations, and 5) systematic monitoring and evaluation of discipline enhancement. The evaluation of the model was found that the model appropriateness and feasibility to apply in the schools at the highest level. 3. The evaluation of the satisfaction with the constructed model of students’ discipline enhancement in basic education schools was as a whole at the high level. Keywords : A Model of Student Discipline Enhancement, Pathum Thani Primary Educational Service Area Office
Article Details
How to Cite
ทองสุทธิ์ ว. (2017). รูปแบบการเสริมสร้างวินัยนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 11(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/9242
Section
บทความวิจัย (Research Articles)