การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านคำศัพท์ภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ด้านการอ่านชั้นประถมศึกษาปีที่ 2-3

Main Article Content

แรกขวัญ นามสว่าง

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยและการพัฒนาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์          1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ในครั้งนี้คือโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย    ศรีนครินทรวิโรฒ (ประสานมิตร) ฝ่ายประถมศึกษาซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีการปฏิบัติที่ดี ( Best Practice) เพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำรูปแบบ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบกับกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ระดับประถมศึกษาปีที่ 2-3 โรงเรียนอนุบาลรัตนบุรี      ปีการศึกษา 2558 โดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 12 คน 4) เพื่อประเมินผลรูปแบบกับกลุ่มเป้าหมาย คือผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 14 คน เครื่องมือการวิจัยคือ 1. การสังเกตและจดบันทึก 2. การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง 3.แผนการจัดการศึกษาและแผนการสอนเฉพาะบุคคล 4.แบบฝึกทักษะการอ่านคำศัพท์ภาษาอังกฤษ 4 ชุด สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที่ใช้เปรียบเทียบลำดับพิสัยวิลคอกซัน ผลการวิจัยพบว่า1. สภาพปัญหา พบว่า ผู้บริหารมีภาระงานค่อนข้างมาก ให้ความสำคัญกับการศึกษาพิเศษน้อย      อีกทั้งให้การสนับสนุนเงินงบประมาณในการจัดซื้อสื่ออุปกรณ์ในการจัดการเรียนการสอนน้อย ภาระงานส่วนใหญ่อยู่ที่ครูการศึกษาพิเศษ ครูผู้สอนขาดทักษะในการจัดกระบวนการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ นักเรียนไม่มีเจตคติที่ดีต่อการเรียน ผู้ปกครองไม่ให้ความสำคัญต่อการจัดการเรียนรู้และดูแลเอาใจใส่ลูกหลาน และด้านบริบทภายในห้องเรียนไม่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ สำหรับความต้องการพบว่า ผู้บริหารควรส่งเสริมให้บุคลากรเข้ารับการอบรมอย่างต่อเนื่อง สนับสนุนเงินงบประมาณในการจัดซื้อสื่ออุปกรณ์ให้มีความเหมาะสมและเพียงพอ มีนิเทศติดตามการจัดการเรียนการสอนอย่างสม่ำเสมอ ครูผู้สอนศึกษาวิธีการการจัดกิจกรรมสอนภาษาอังกฤษและการวัดและประเมินผลที่ถูกต้อง นักเรียนต้องมีเจตคติที่ดีในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ผู้ปกครองต้องดูเอาใจใส่บุตรหลานเรื่องความเป็นอยู่และการเรียนรู้ขณะอยู่ที่บ้าน บริบทห้องเรียนจัดให้เหมาะกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้โดยเฉพาะ 2. รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านคำศัพท์ภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2-3 ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 5 ขั้น ดังนี้ขั้นที่ 1. ขั้นอุ่นเครื่องตรึงความสนใจ (Attention) ด้วยการขยับกายขยาย สมอง (Brain – Gym) ขั้นที่ 2 ขั้นนำเสนอความรู้ (Presentation) ขั้นที่ 3 ขั้นลงมือเรียนรู้ (Learning - Practice) ขั้นที่ 4 ขั้นสรุปความรู้และบูรณาการเพื่อนำไปใช้ (Summary - Apply)  ขั้นที่ 5 ขั้นประเมินผล (Evaluation) ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้วยค่าเฉลี่ย ( = 4.72) ความสามารถในการอ่านออกเสียงคำและการเข้าใจความหมายของคำ หลังเรียนสูงกว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 อีกทั้งส่งผลให้มีความคงทนจดคำศัพท์ในด้านการอ่านและแปลความหมายหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  การประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่ามีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย            ( = 4.60) 86คำสำคัญ : รูปแบบสมองเป็นฐานทักษะการอ่านคำศัพท์  นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ABSTRACT The research and development aims were to: 1) investigate the existing situation of problems and needs of English language instruction in the best practices model of SrinakharinwirotUniversity : Prasarnmit Demonstration School (Elementary);       2) develop an instructional model for brain-based learning to be assessed for its quality by five exports; 3) pilot the model with the target population -- 12 students with learning disabilities enrolled in Prathomsuksa 2 and 3 at Anuban Rattanaburi School for the 2015 academic year -- using purposive sampling method; and, 4) assess the model with the target group of 14 evaluation exports;. The research instruments included: 1. observations and anecdotal records; 2. unstructured interviews; 3. individualized education programs and individual implementation plans; and, 4. four sets of English vocabulary reading exercises. Statistics used in data analysis included percentage, average, standard deviation, and The Wilcoxon signed-rank test. It was found that: In terms of the situation of problems, school administrators had considerably high workload. Low priority was given to special education. Less amount of budget was allocated in procurement of instructional materials. High proportions of workloads were the responsibilities of special education teacher.Teachers were short of pedagogical skills in English language teaching (ELT). Students did not have positive attitudes towards learning. Parents did not give priority to learning management nor caring for their children. As for the classroom context, it was not conducive to learning. In terms of the needs, it was found that school administrators should encourage personnel to seek continual training, allocate a budget to purchase appropriate and sufficient equipment and materials, and ensure regular supervision of learning and teaching. Teachers should learn appropriate ELT approaches and methods as well as accurate language assessment and evaluation. Students had to have positive attitudes towards English language learning. Parents should to pay attention to caring for their children at home, both their well-being and learning. The classroom context should be specifically arranged to support the instructional activities for children with learning disabilities in particular. The developed instructional model for brain-based learning to reinforce English vocabulary reading skills of dyslexic students in Prathomsuksa 2 and 3 which consisted of five stages was reviewed and agreed by the exports  that it was appropriate at the highest level with the average value of 4.72 ( = 4.72). Students' post-learning ability to read aloud and understand the vocabulary was considerably higher than pre-learning scores, with the statistical significance level of .01. This also resulted in the vocabulary recognition and retention in reading comprehension and interpretation, that the post-learning results were higher than the pre-learning results, with the statistical significance level of .01. The use of the instructional model for brain-based learning was evaluated and agreed by the evaluation exports that the model was appropriate and applicable at the highest level with the average value of 4.60          ( = 4.60). Keywords : Brain-Based Model, Vocabulary Reading Skills, Students with Learning Disabilities

Article Details

How to Cite
นามสว่าง แ. (2017). การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านคำศัพท์ภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ด้านการอ่านชั้นประถมศึกษาปีที่ 2-3. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 11(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/9199
Section
บทความวิจัย (Research Articles)