ความสามารถในการทดลองทางวิทยาศาสตร์และทักษะการสื่อสารของนิสิตครูวิทยาศาสตร์ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐาน

Main Article Content

น้ำฝน คูเจริญไพศาล

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความ สามารถในการทดลองทางวิทยาศาสตร์และทักษะการสื่อสารของนิสิตครูวิทยาศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐาน กลุ่มเป้าหมาย ที่ศึกษา คือ นิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 2 หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป ที่กำลังศึกษาใน      ปีการศึกษา 2558 ภาคเรียนที่ 1 จำนวน 1 ห้องเรียน          มีนิสิตจำนวน 29 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ และ 2) แบบประเมินผลงานผู้เรียน และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐาน ใช้แบบแผนการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มทดลองเพียงกลุ่มเดียว วัดผลหลังการทดลอง เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพ ซึ่งข้อมูล            เชิงปริมาณประกอบด้วยคะแนนที่ได้จากการประเมินการทำโครงการ การเขียนรายงาน และการนำเสนอผลงาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ และข้อมูล           เชิงคุณภาพประกอบด้วยการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน คุณภาพการทำรายงาน พฤติกรรมในการนำเสนองาน การทำแบบสอบถามความพึงพอใจ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย สรุปได้ว่า ความสามารถในการทดลองทางวิทยาศาสตร์และการนำเสนองานของนิสิตที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐาน มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 31.80 จากคะแนนเต็ม 40 คิดเป็นร้อยละ 79.50 และมีนิสิตที่ได้คะแนนสูงกว่าร้อยละ 70 จำนวน 26 คน จากทั้งหมด 29 คน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 89.66 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 70 และผลการศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนโดยใช้โครงการเป็นฐาน พบว่ามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.18 (SD=0.42) แสดงว่าผู้เรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก นิสิตมีความสนใจและมีพฤติกรรมที่ดีในการเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐาน นิสิตมีความคิดเห็นและทัศนคติเชิงบวกต่อการจัดการเรียนรู้ คำสำคัญ : การทดลองทางวิทยาศาสตร์ ทักษะการสื่อสาร การเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐาน ABSTARCT The purposes of this study were to study the ability in science experiment and presentation of pre-service teachers through project-based learning. The sample group was one classroom of the second-year science undergraduate students (29 students). The research tools consisted of 1) the lesson plans, 2) the assessment form of students’ works, and        3) the students’ satisfaction questionnaire toward learning activity. Both quantitative data and qualitative data were collected. Quantitative data consisted of score from assessment of doing science experiment, writing a report, and group presentation including the data from the questionnaire. The statistics used to analyze the quantitative data were mean, standard deviation and percentage. The qualitative data consisted of learning behaviors, quality of writing a report and presentation including analyzing the data from the open ended questions from the questionnaire, which were analyzed by the content analysis. The result indicated that the ability of science experiment and presentation of the students through project-based learning has the mean score at 31.80 from full score 40 (79.50 %) and there were 26 students or 89.66%, passing criterion, which was higher than specified criterion at 70%. And studying the students’ satisfaction toward the project-based learning showed that the students’ satisfaction was at good level       ( = 4.18, SD =0.42). The students showed the positive thinking and good learning behaviors toward the project-based learning.  72Keywords : Science Experiment,  Presentation, Project-based Learning  

Article Details

How to Cite
คูเจริญไพศาล น. (2017). ความสามารถในการทดลองทางวิทยาศาสตร์และทักษะการสื่อสารของนิสิตครูวิทยาศาสตร์ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐาน. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 11(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/9198
Section
บทความวิจัย (Research Articles)