รูปแบบการส่งเสริมจริยธรรมนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้ใช้การวิจัยแบบผสมวิธี (Mixed Method) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันในการพัฒนาการส่งเสริมจริยธรรมนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1 2) เพื่อสร้างรูปแบบการส่งเสริมจริยธรรมนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1 และ 3) เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของการนำรูปแบบการส่งเสริมจริยธรรมนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1 ไปใช้มีขั้นตอนการวิจัย 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาหลักการแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมจริยธรรมและศึกษาสภาพการณ์ปัจจุบันในการพัฒนาการส่งเสริมจริยธรรมนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1 โดยการสุ่ม อย่างง่ายให้ได้จำนวน 327 คน ตามตารางกำหนดของกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie; & Morgan.1970) โดยใช้แบบสอบถามสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 สร้างรูปแบบการส่งเสริมจริยธรรมนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1 ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ด้านคุณธรรมและจริยธรรมโดยตรง จำนวน 6 คน ดังนี้ ด้านศาสนาอิสลาม 3 คน ด้านศาสนาพุทธ 3 คน กลุ่มที่ 2 ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ด้านคุณธรรมและจริยธรรม และเป็นผู้ปฏิบัติโดยตรงซึ่งเป็นผู้สอนศาสนาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก จำนวน 6 คน ดังนี้ ศาสนาอิสลาม 3 คน ศาสนาพุทธ จำนวน 3 คน กลุ่มที่ 3 ผู้เชี่ยวชาญที่เป็นผู้ปฏิบัติทางด้านศาสนาและส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมโดยตรง ดังนี้ อีหม่ามประจำมัสยิด 3 คน เจ้าอาวาส 3 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างขั้นตอนที่ 3 ศึกษาความเป็นไปได้ของการใช้รูปแบบการส่งเสริมจริยธรรมนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1 จากผู้บริหารโรงเรียน ประถมศึกษาทั้งหมด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1 จำนวน 149 คน แบบประเมิน มีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.80-1.00 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพการณ์ปัจจุบันในการพัฒนาการส่งเสริมจริยธรรมนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 522. รูปแบบการส่งเสริมจริยธรรมนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1 ประกอบด้วยองค์ประกอบ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 การประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีของครูผู้สอนในเรื่องคุณธรรม จริยธรรมองค์ประกอบที่ 2 การพัฒนาจริยธรรมผ่านคำสอนของศาสนาอิสลามและศาสนาพุทธร่วมกัน โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีเมตตา ความอ่อนโยน ความอดทน และการให้อภัยองค์ประกอบที่ 3 การใช้หลักสูตรเพื่อพัฒนานักเรียนในการยึดมั่นและปฏิบัติตนตามคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุของค์ประกอบที่ 4 การจัดกิจกรรมที่เกี่ยวกับประเพณีหรือพิธีทางศาสนา เพื่อสกัดกั้นความคิดและการกระทำที่ไม่ดีงาม และเป็นการฝึกการเป็นผู้ให้เช่นการรู้จักให้อภัยและรู้จักแบ่งปันความรู้ความดี และองค์ประกอบที่ 5 การวัดและประเมินผลครอบคลุมด้านความรู้ทักษะและเจตคติของผู้เรียนผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ และนำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน 3. การประเมินความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบการส่งเสริมจริยธรรมนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1 ไปใช้ พบว่า รูปแบบการส่งเสริมจริยธรรมนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด คำสำคัญ : รูปแบบ การส่งเสริมจริยธรรมนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1 ABSTRACT This is a mixed method research 1) to study current situation and existing of moral Support for basic school students under the Narathiwat Primary Educational Service Area 1; 2) to develop a model of moral support for basic school students under the Narathiwat Primary Educational Service Area 1.; and 3) to study an appropriateness of the developed model. Three stages used in the research: Stage 1 Study, analysis, synthesize concepts and current situation of moral support for basic school students under the Narathiwat Primary Educational Service Area1. 2) Stage 2: develop a moral support for basic school students. 3) Stage: 3; to study an appropriateness of the developed support model for students. The samples consists of 327 school administrators and teachers in basic schools under Jurisdiction of Narathiwat Primary Educational Service Area 1 which applicable of Krejcie and Morgan’s table. The convenient sampling has been taken for the key informants of ten (10) school administrators and thirty (30) stakeholders (students, parents, teachers and school’s board). There are 149 experts of school administrators who evaluate a feasible of a model for moral contribution of basic school students under Narathiwat Primary Educational Service Area1. The research instrument consists of survey questionnaire and structure-interview and evaluate form with IOC between 0.80-1.00. The statistics used for data analyses were percentage, mean, and standard deviation and qualitative data analysis with content analysis. The findings in dicated that: 1. Section 1, overall current situation and existing of moral contribution of basic school students under Narathiwat Primary Educational Service Area1 were at the high level. 2. Section 2, a model construction for moral contribution of basic school students under Narathiwat Primary Educational Service Area1 were found that; there are five (5) components for moral contribution of basic school students under Narathiwat Primary Educational Service Area 1; 1) the teachers were been a role model for ethic and moral conducts, 2) there are integrated teaching of both Islamic and Buddhism’s moral by emphasizing moral, sympathy, kindness and forgiveness for the students, 3) set up curriculum which tied-up with moral and ethics and peacefully living together, 4) launching activities which related to religion or tradition which eliminated bad behavior or thinking eg., know how to forgive or share the goodness, 5) measurement and evaluation were made on knowledge, attitude and skill of the students, parents, other and an evaluation result shall be apply in teaching and learning development. 3) section 3, overall model evaluation for moral contribution of basic school students under Narathiwat Primary Educational Service Area1 were at highest level with appropriate, righteous and feasible respectively. Keywords : Model, Moral Contribution of Basic School Students, School Administrators and Teachers in Basic schools Under Jurisdiction of Narathiwat Primary Educational Service Area 1
Article Details
How to Cite
จันทร์ยิหวา น. (2017). รูปแบบการส่งเสริมจริยธรรมนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 11(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/9197
Section
บทความวิจัย (Research Articles)