การพัฒนาโปรแกรมการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาอาชีพตามแนวคิด Two – Generation Approach ด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือ
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อสร้างโปรแกรมการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาอาชีพ ตามแนวคิด Two – Generation Approach ด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือ 2) เพื่อทดลองใช้โปรแกรมการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาอาชีพตามแนวคิด Two – Generation Approach ด้วยกระบวน การเรียนรู้แบบร่วมมือ และ 3) เพื่อประเมินผลโปรแกรมการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาอาชีพ ตามแนวคิด Two – Generation Approach ด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือ กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้สำหรับการวิจัย ประกอบด้วย 1) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้สำหรับการสัมภาษณ์ จำนวน 30 คน เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการพัฒนาอาชีพ 2) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้สำหรับการสนทนากลุ่ม จำนวน 15 คน เพื่อกำหนดแผนการทำงานร่วมกัน 3) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้สำหรับการทดลองและประเมินโปรแกรมการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาอาชีพ ตามแนวคิด Two – Generation Approach ด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือ จำนวน 20 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ t-test for Dependent Samples ผลการวิจัยพบว่า 1. การสร้างโปรแกรมการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาอาชีพ ตามแนวคิด Two – Generation Approach ด้วยกระบวน การเรียนรู้แบบร่วมมือ ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการ ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดหลักปรัชญาพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 3 การสร้างทีมงานกลุ่มที่มีความเชี่ยวชาญและคนในพื้นที่เพื่อทำการวิเคราะห์ ภาพรวมทั้งหมดและกำหนดแผนการ ทำงานร่วมกัน ขั้นตอนที่ 4 การออกแบบโปรแกรม ประกอบด้วย 10 องค์ประกอบ คือ (1) หลักการและเหตุผล (2) วัตถุประสงค์ (3) เนื้อหาการฝึกอบรม (4) การจัดกิจกรรม (5) รูปแบบการเรียนรู้ (6) วิธีการสอน (7) สื่อและอุปกรณ์การสอน (8) งบประมาณ (9) คุณค่า หรือ ประโยชน์ที่ได้รับ (10) การประเมินผล ขั้นตอนที่ 5 การนำโปรแกรมไปปฏิบัติ ขั้นตอนที่ 6 การประเมินผลโปรแกรม ขั้นตอนที่ 7 การรายงานคุณค่าของโปรแกรม2. ผลการทดลองใช้โปรแกรมการฝึกอบรม พบว่า 1) ผลการทดสอบวัดความรู้ก่อนและหลังเข้ารับการฝึกอบรมของผู้เข้ารับการฝึกอบรม พบว่าคะแนนเฉลี่ยหลังเข้ารับการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการเข้ารับการฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลการประเมินตามสภาพจริงการสานกระจาดแม่ลา พบว่า ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีผลงานการสานกระจาดแม่ลาโดยรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับดี และ 3) ผลการประเมินตามสภาพจริงการพัฒนาเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์สำเร็จรูปกับ www.lnwshop.com พบว่าผู้เข้ารับการ ฝึกอบรมมีการพัฒนาเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์สำเร็จรูปกับ www.lnwshop.com โดยรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับดี1. การสร้างโปรแกรมการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาอาชีพ ตามแนวคิด Two – Generation Approach ด้วยกระบวน การเรียนรู้แบบร่วมมือ ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการ ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดหลักปรัชญาพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 3 การสร้างทีมงานกลุ่มที่มีความเชี่ยวชาญและคนในพื้นที่เพื่อทำการวิเคราะห์ ภาพรวมทั้งหมดและกำหนดแผนการ ทำงานร่วมกัน ขั้นตอนที่ 4 การออกแบบโปรแกรม ประกอบด้วย 10 องค์ประกอบ คือ (1) หลักการและเหตุผล (2) วัตถุประสงค์ (3) เนื้อหาการฝึกอบรม (4) การจัดกิจกรรม (5) รูปแบบการเรียนรู้ (6) วิธีการสอน (7) สื่อและอุปกรณ์การสอน (8) งบประมาณ (9) คุณค่า หรือ ประโยชน์ที่ได้รับ (10) การประเมินผล ขั้นตอนที่ 5 การนำโปรแกรมไปปฏิบัติ ขั้นตอนที่ 6 การประเมินผลโปรแกรม ขั้นตอนที่ 7 การรายงานคุณค่าของโปรแกรม 3. ผลการประเมินโปรแกรมการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาอาชีพ ตามแนวคิด Two – Generation Approach ด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยรวมอยู่ในระดับดีมากที่สุด และเมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่า อยู่ในระดับดีมากที่สุดทุกด้าน ดังนี้ ด้านผลผลิต รองลงมา ด้านกระบวนการ ด้านบริบท และด้านตัวป้อนเข้าตาม ลำดับ และเมื่อพิจารณาในส่วนของด้านผลผลิต พบว่า การจัดกิจกรรมฝึกอบรมพร้อมกันระหว่างผู้เข้ารับการฝึกอบรม ช่วยให้เข้าใจเนื้อหาการฝึกอบรมได้ง่ายขึ้น และ ช่วยส่งเสริมให้ครอบครัวเกิดความผาสุก อยู่ในระดับดีมากที่สุด คำสำคัญ : การพัฒนาโปรแกรมการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาอาชีพ แนวคิด Two – Generation Approach กระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือ
Article Details
How to Cite
เกตุมาลา ส. (2017). การพัฒนาโปรแกรมการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาอาชีพตามแนวคิด Two – Generation Approach ด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือ. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 11(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/8599
Section
บทความวิจัย (Research Articles)