แนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อวางแผนชุมชน
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยเรื่อง แนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อวางแผนชุมชนมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อวางแผนชุมชนมีการดำเนินการวิจัย 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นจากผลของโครงการความร่วมมือเพื่อการแก้ปัญหา ความยากจน การพัฒนาสังคม และสุขภาวะในพื้นที่ 17 จังหวัด ระยะที่ 1 และระยะที่ 2 จำนวน 44 ชุด 2) การถอด ความรู้สำหรับชุมชนที่เป็นเลิศที่มีการวิเคราะห์ข้อมูลบัญชีครัวเรือนนำไปสู่การใช้ข้อมูลเพื่อการวางแผนชุมชนโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเลิศ 17 จังหวัด จังหวัดละ 2 แห่ง รวมเป็น 34 คน 3) การสัมภาษณ์ เชิงลึกกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องจากหน่วยงานภาครัฐภาคเอกชน และผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) เพื่อกำหนดเป็นกรอบโครงสร้างเนื้อหาสำหรับการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อวางแผนชุมชนด้วยรูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวทางชุมชนแห่งการเรียนรู้ จำนวน 10 คน 4) ตรวจสอบ (ร่าง) แนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อวางแผนชุมชนโดยกระบวนการสนทนากลุ่ม (Focus Group) จำนวน 9 คน และ 5) การนำเสนอแนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อวางแผนชุมชน ผลการวิจัยพบว่า1. ผลการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น จากผลของโครงการความร่วมมือเพื่อการแก้ปัญหาความยากจน ฯ พบว่า 1) การนำข้อมูลบัญชีครัวเรือนในชุมชนมาวิเคราะห์เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาในการวางแผนพัฒนาชุมชน โดยแสดงความเชื่อมโยงบัญชีครัวเรือนกับการเปลี่ยนแปลงระดับบุคคล ครัวเรือน และชุมชน และ 2) กลไกการทำงานจากทุกภาคส่วน2. การถอดความรู้จากผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ที่เกี่ยวข้องจำนวน 34 คน มีความเห็นว่าผลการวิเคราะห์ข้อมูลบัญชีครัวเรือนนำไปสู่การใช้ข้อมูลเพื่อการวางแผนชุมชน พบว่า สิ่งที่ส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนจากการเรียนรู้บัญชีครัวเรือน ได้แก่ การมีรายจ่ายสูง ทำให้รู้จักตนเองเนื่องจาก รู้รายจ่ายของตนเอง ว่าจ่ายอะไรบ้างฟุ่มเฟือยอะไรบ้าง โดยมีการลดรายจ่าย มีการวางแผนชีวิตโดยจัดทำแผนการปรับลด ปลดหนี้ และทำให้ครอบครัวอบอุ่นมากขึ้น1. ผลการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น จากผลของโครงการความร่วมมือเพื่อการแก้ปัญหาความยากจน ฯ พบว่า 1) การนำข้อมูลบัญชีครัวเรือนในชุมชนมาวิเคราะห์เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาในการวางแผนพัฒนาชุมชน โดยแสดงความเชื่อมโยงบัญชีครัวเรือนกับการเปลี่ยนแปลงระดับบุคคล ครัวเรือน และชุมชน และ 2) กลไกการทำงานจากทุกภาคส่วน 3. การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อวางแผนชุมชน จำนวน 10 คน เห็นว่าส่วนประกอบของการจัดกระบวนการเรียนรู้ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ องค์ประกอบ ขั้นตอนในการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อวางแผนชุมชน และเป้าหมายในการพัฒนาชุมชน 4. การสนทนากลุ่มกับผู้ทรงคุณวุฒิด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อวางแผนชุมชน จำนวน 9 คน เห็นว่าควรลดขั้นตอนของกระบวนการเรียนรู้เหลือ 4 ขั้นตอนจาก 5 ขั้นตอน 5. แนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อวางแผนชุมชน ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1) ข้อมูลโดยมีหลักการวิเคราะห์ข้อมูลบัญชี 2) กลไก ประกอบด้วย คน ความสัมพันธ์ การจัดการความรู้ และการสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ภายในชุมชน และ 3) กระบวนการเรียนรู้เพื่อนำไปสู่การวางแผนชุมชน มี 4 ขั้นตอน ได้แก่ 3.1) การทบทวนปัญหาและร่วมรับรู้เป้าหมายของชุมชน 3.2) การร่วมวางแผนและเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาชุมชน 3.3) การนำแผนเชื่อมโยงทรัพยากรทุกภาคส่วนและ 3.4) การประเมินผลและร่วมสรุปบทเรียน คำสำคัญ : แนวทาง การพัฒนา กระบวนการเรียนรู้วางแผน ชุมชน
Article Details
How to Cite
หรรษาภิรมย์โชค พ. (2017). แนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อวางแผนชุมชน. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 11(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/8594
Section
บทความวิจัย (Research Articles)