การศึกษาข้อบกพร่องของกระบวนการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ โดยใช้กลวิธีแก้ปัญหาเชิงตรรกะของเฮลเลอร์และเฮลเลอร์ของนักศึกษาระดับ ปริญญาตรี : กรณีศึกษานักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
Main Article Content
Abstract
ทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อบกพร่องในกระบวนการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ โดยใช้กลวิธีแก้ปัญหาเชิงตรรกะของเฮลเลอร์และเฮลเลอร์และเปรียบเทียบข้อบกพร่องโดยจำแนกตามเพศและระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 เป็นกลุ่มตัวอย่าง โดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม จำนวน 1 ห้องเรียน ได้จำนวน 49 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยคือแบบวัดกระบวนการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ เนื้อหาฟิสิกส์ที่ใช้ในการศึกษานี้ประกอบด้วย 3 เรื่อง คือ ไฟฟ้าสถิต ไฟฟ้ากระแสตรง และทฤษฎีแม่เหล็ก – ไฟฟ้าเบื้องต้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ค่าร้อยละ การทดสอบค่าที และการทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า1. นักศึกษาส่วนใหญ่มีข้อบกพร่องในกระบวนการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ โดยใช้กลวิธีแก้ปัญหาเชิงตรรกะของเฮลเลอร์และเฮลเลอร์ เรียงลำดับจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุดคือ ขั้นที่ 5 ขั้นตรวจสอบผลลัพธ์ ขั้นที่ 3 ขั้นวางแผนแก้ปัญหา ขั้นที่ 4 ขั้นดำเนินการตามแผนที่วางไว้ ขั้นที่ 2 ขั้นอธิบายหลักการทางฟิสิกส์ และขั้นที่ 1 ขั้นพิจารณาปัญหา 2. นักศึกษาที่มีเพศต่างกัน มีข้อบกพร่องในกระบวนการแก้โจทย์ปัญหาโดยใช้กลวิธีแก้ปัญหา เชิงตรรกะของเฮลเลอร์และเฮลเลอร์ ไม่แตกต่างกัน เรียงลำดับข้อบกพร่องจากมากไปหาน้อยคือ ขั้นที่ 5, 3, 4, 2 และ 1 ตามลำดับ1. นักศึกษาส่วนใหญ่มีข้อบกพร่องในกระบวนการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ โดยใช้กลวิธีแก้ปัญหาเชิงตรรกะของเฮลเลอร์และเฮลเลอร์ เรียงลำดับจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุดคือ ขั้นที่ 5 ขั้นตรวจสอบผลลัพธ์ ขั้นที่ 3 ขั้นวางแผนแก้ปัญหา ขั้นที่ 4 ขั้นดำเนินการตามแผนที่วางไว้ ขั้นที่ 2 ขั้นอธิบายหลักการทางฟิสิกส์ และขั้นที่ 1 ขั้นพิจารณาปัญหา 3. นักศึกษาที่มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกัน มีข้อบกพร่องในกระบวนการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ โดยใช้กลวิธีแก้ปัญหาเชิงตรรกะของเฮลเลอร์และเฮลเลอร์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีของเชพเฟ พบว่า กลุ่มเก่ง แตกต่างกับกลุ่มอ่อน และกลุ่มปานกลางแตกต่างจากกลุ่มอ่อน แต่กลุ่มเก่งและกลุ่มปานกลาง ไม่มีความแตกต่าง โดยกลุ่มเก่งและกลุ่มปานกลาง เรียงลำดับข้อบกพร่องจากมากไปหาน้อยคือ ขั้นที่ 5, 3, 4, 2 และ 1 ส่วนกลุ่มอ่อน เรียงลำดับข้อบกพร่องจากมากไปหาน้อยคือ ขั้นที่ 5, 4, 3, 2 และ 1 ตามลำดับ คำสำคัญ : ข้อบกพร่องของกระบวนการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ กลวิธีแก้ปัญหาเชิงตรรกะของเฮลเลอร์และเฮลเลอร์
Article Details
How to Cite
ช่วยทุกข์เพื่อน ธ. (2017). การศึกษาข้อบกพร่องของกระบวนการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ โดยใช้กลวิธีแก้ปัญหาเชิงตรรกะของเฮลเลอร์และเฮลเลอร์ของนักศึกษาระดับ ปริญญาตรี : กรณีศึกษานักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 11(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/8588
Section
บทความวิจัย (Research Articles)