การศึกษาความสามารถในการอ่านคำและเข้าใจความหมายของคำของนักเรียน ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จากการสอนโดยใช้วิธีการสอนอ่านเป็นคำร่วมกับรหัสแท่งสองมิติ สำหรับการ จัดเก็บสารสนเทศภาษาไทยเพื่อช่วยการอ่าน

Main Article Content

ดารณี ศักดิ์ศิริผล

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านคำและเข้าใจความหมายของคำของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ก่อนและหลังการสอนโดยใช้วิธีการสอนอ่านเป็นคำร่วมกับรหัสแท่งสองมิติสำหรับการจัดเก็บสารสนเทศภาษาไทย เพื่อช่วยการอ่าน และเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านคำและเข้าใจความหมายของคำของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน ชั้นประถม ศึกษาปีที่ 4-6 ระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองหลังการสอน โดยกลุ่มควบคุมใช้วิธีการสอนอ่านเป็นคำและกลุ่มทดลองใช้วิธีการสอนอ่านเป็นคำร่วมกับรหัสแท่งสองมิติสำหรับการจัดเก็บสารสนเทศภาษาไทยเพื่อช่วยการอ่าน กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนโรงเรียนสามเสนนอก (ประชาราษฎร์อนุกูล) สังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน 12 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม จำนวน 6 คน และกลุ่มทดลอง จำนวน 6 คน เลือกโดยวิธีเจาะจง (Purposive sampling)  ใช้เวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูล 6 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนอ่านเป็นคำ และวิธีการสอนอ่านเป็นคำร่วมกับรหัสแท่งสองมิติสำหรับการจัดเก็บสารสนเทศภาษาไทยเพื่อช่วยการอ่าน แบบประเมินการอ่านคำ และแบบทดสอบการเข้าใจความหมายของคำ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ สถิติทดสอบ The Sign Test for Median: One Sample, The Wilcoxon Matched - Pairs Signed -Rank Test และ The Mann - Whitney U Testผลการวิจัย  พบว่า  1. ความสามารถในการอ่านคำ ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้าน       การอ่าน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 หลังการสอนโดยใช้วิธี การสอนอ่านเป็นคำร่วมกับรหัสแท่งสองมิติสำหรับการจัดเก็บสารสนเทศภาษาไทยเพื่อช่วยการอ่าน อยู่ในระดับดี (ค่ามัธยฐานเท่ากับ 14 คะแนน จากคะแนนเต็ม 15 คะแนน ; n = 6, t = 6, p - Value = 1.0000)2. ความสามารถในการเข้าใจความหมายของคำ ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้าน  การอ่าน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 หลังการสอนโดยใช้วิธีการสอนอ่านเป็นคำร่วมกับรหัสแท่งสองมิติสำหรับการจัดเก็บสารสนเทศภาษาไทยเพื่อช่วยการอ่าน อยู่ในระดับดี (ค่ามัธยฐานเท่ากับ 15 คะแนน จากคะแนนเต็ม 15 คะแนน; n = 6, t = 6, p - value = 1.0000) 3. ความสามารถในการอ่านคำ ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่านชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4-6 หลังการสอนโดยใช้วิธีการสอนอ่านเป็นคำร่วม กับ รหัสแท่งสองมิติสำหรับการจัดเก็บสารสนเทศภาษาไทยเพื่อช่วยการอ่าน สูงขึ้น (t = 0, p <.05) 4. ความสามารถในการเข้าใจความหมายของคำ ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 หลังการสอนโดยใช้วิธีการสอนอ่านเป็นคำร่วมกับรหัสแท่งสองมิติสำหรับการจัดเก็บสารสนเทศภาษาไทยเพื่อช่วยการอ่านสูงขึ้น          (t = 0, p <.05) 5. ความสามารถในการอ่านคำ ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่านชั้นประถม ศึกษา ปีที่ 4-6 หลังการสอนโดยใช้วิธีการสอนอ่านเป็นคำ และวิธีการสอนอ่านเป็นคำร่วมกับรหัสแท่งสองมิติสำหรับการจัดเก็บสารสนเทศภาษาไทยเพื่อช่วยการอ่าน ไม่แตกต่างกัน (u = 12, p- value = 0.197) 6. ความสามารถในการเข้าใจความหมายของคำ ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 หลังการสอนโดยใช้วิธีการสอนอ่านเป็นคำ และวิธีการสอนอ่าน เป็นคำร่วมกับรหัสแท่งสองมิติสำหรับการจัดเก็บสารสนเทศภาษาไทยเพื่อช่วยการอ่าน แตกต่างกัน (u = 5 , p- value = 0.021) คำสำคัญ : ความสามารถในการอ่านคำและเข้าใจความหมายของคำ นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ด้านการอ่าน วิธีการสอนอ่านเป็นคำร่วมกับรหัสแท่งสองมิติสำหรับการจัดเก็บสารสนเทศภาษาไทย เพื่อช่วยการอ่าน เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก

Article Details

How to Cite
ศักดิ์ศิริผล ด. (2017). การศึกษาความสามารถในการอ่านคำและเข้าใจความหมายของคำของนักเรียน ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จากการสอนโดยใช้วิธีการสอนอ่านเป็นคำร่วมกับรหัสแท่งสองมิติ สำหรับการ จัดเก็บสารสนเทศภาษาไทยเพื่อช่วยการอ่าน. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 11(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/8587
Section
บทความวิจัย (Research Articles)