การพัฒนาศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษาด้านภูมิปัญญาการอนุรักษ์ผึ้งสายพันธุ์ชันโรง ตำบลปัถวี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

เกียรติภูมิ จันเต

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิด ลักษณะทางชีววิทยา ภูมิปัญญาการเพาะเลี้ยง  การขยายพันธุ์ และการใช้ประโยชน์จากผึ้งสายพันธุ์ชันโรงในพื้นที่ตำบลปัถวี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี ศึกษาความต้องการและแนวทางการพัฒนาศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษาและผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษาด้านภูมิปัญญาการอนุรักษ์ผึ้งสายพันธุ์ชันโรง ตำบลปัถวี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี ใช้การวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารเทศบาลตำบลปัถวี ผู้นำชุมชน ปราชญ์ท้องถิ่น ครูและบุคลากรทางการศึกษา เกษตรกร ผู้เพาะเลี้ยงผึ้งสายพันธุ์ชันโรง และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รวมทั้งสิ้น 400 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบสอบถาม แบบทดสอบความรู้ แบบวัดเจตคติ และแบบวัดพฤติกรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทดสอบที (t-test) วิเคราะห์ความแปรปรวนรวมพหุคูณ (MANOVA) และข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เชิงเนื้อหาผลการวิจัยพบว่า มีผึ้งสายพันธุ์ชันโรงในพื้นที่ตำบลปัถวี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี จำนวนทั้งสิ้น 4 ชนิด ลักษณะทางชีววิทยาด้านโครงสร้างลำตัวมีขนาด 2.5 - 5.5 มิลลิเมตร ประกอบด้วยส่วนหัวอก และท้อง ระยะการเจริญเติบโตเริ่มจาก ระยะไข่ หนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัย ใช้เวลาทั้งสิ้น   40  วัน ภูมิปัญญาการเพาะเลี้ยงและการขยายพันธุ์ผึ้งสายพันธุ์ชันโรง ต้องอาศัยหลักวิชาการทางชีววิทยา ระยะการเจริญเติบโต การดูแลรัง แหล่งอาหาร การย้ายและแยกรัง จะช่วยให้การเพาะเลี้ยงประสบความสำเร็จ ภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์ ได้แก่ การใช้เป็นแมลงในการผสมเกสรให้แก่พืชสวน น้ำผึ้งและไขผึ้งนำไปแปรรูปเป็นสบู่ โลชั่นบำรุงผิว และแชมพู ประชาชนต้องการให้มีการจัดตั้ง ศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษาด้านการอนุรักษ์ภูมิปัญญาผึ้งสายพันธุ์ชันโรง ตำบลปัถวี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี ร้อยละ 100 ส่วนแนวทางการพัฒนาศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษา ประกอบด้วย 1) การสร้างภาคีเครือข่ายเพื่อการมีส่วนร่วม 2) การมีโครงสร้างการบริหารงาน 3) การพัฒนาสำนักงานและฐานการเรียนรู้เพื่อบริการ 4) การจัดกลไกการประสานงาน การประชาสัมพันธ์ และงบประมาณผลการพัฒนาศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษามีการจัดทำอาคารสถานที่ฐานการเรียนรู้ในชุมชน คู่มือการเรียนรู้ บทปฏิบัติการ สื่อ หลักสูตรการฝึกอบรมและดำเนินการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรการฝึกอบรม พบว่า นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเฉลี่ยความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการอนุรักษ์ภูมิปัญญาผึ้งสายพันธุ์ชันโรงหลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการเปรียบเทียบคะแนนด้านความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการอนุรักษ์ภูมิปัญญาผึ้งสายพันธุ์ชันโรงของนักเรียนเพศชายและเพศหญิง ไม่แตกต่างกัน คำสำคัญ : ศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษา ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ผึ้งสายพันธุ์ชันโรง

Article Details

How to Cite
จันเต เ. (2017). การพัฒนาศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษาด้านภูมิปัญญาการอนุรักษ์ผึ้งสายพันธุ์ชันโรง ตำบลปัถวี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 11(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/8586
Section
บทความวิจัย (Research Articles)