การพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยและพัฒนาด้วยการเสริมสร้างพลังและการรับรู้ความสามารถของตน สำหรับครูมัธยมศึกษา
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบของสมรรถนะด้านการวิจัยและพัฒนาสำหรับ ครูมัธยมศึกษา 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยและพัฒนาสำหรับครูมัธยมศึกษา 3) สร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยและพัฒนาด้วยการเสริมสร้างพลังและการรับรู้ความสามารถของตน สำหรับครูมัธยมศึกษา 4) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยและพัฒนาด้วยการเสริมสร้างพลังและการรับรู้ความสามารถของตนสำหรับครูมัธยมศึกษา ในประเด็นเกี่ยวกับ 4.1) การเปรียบเทียบสมรรถนะด้านการวิจัยและพัฒนาก่อนและหลังการใช้รูปแบบการพัฒนา สมรรถนะด้านการวิจัยและพัฒนาด้วยการเสริมสร้างพลังและการรับรู้ความสามารถของตนสำหรับครูมัธยมศึกษา และ 4.2) การเปรียบเทียบการรับรู้ความสามารถของตนด้านการวิจัยและพัฒนาก่อนและหลังการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยและพัฒนาด้วยการเสริมสร้าง พลังและการรับรู้ความสามารถของตน สำหรับครูมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ที่สมัครใจเข้าร่วมการพัฒนาสมรรถนะ ด้านการวิจัยและพัฒนา จำนวน 24 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิเคราะห์เชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แบบวัดสมรรถนะด้านความรู้การวิจัยและพัฒนาของครู แบบวัดสมรรถนะด้านทักษะการวิจัยและพัฒนาของครู แบบวัดสมรรถนะด้านเจตคติการวิจัยและพัฒนาของครู และแบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนด้านการวิจัยและพัฒนาของครู สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย โดยใช้ค่าที แบบสองกลุ่มสัมพันธ์กัน (Dependent samples t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบสมรรถนะด้านการวิจัยและพัฒนา ของครูมัธยมศึกษา ประกอบด้วย 3 มิติ ได้แก่ มิติด้านความรู้ ทักษะ และเจตคติ โดยมิติด้านความรู้มี 13 ตัวบ่งชี้มิติด้านทักษะมี 12 ตัวบ่งชี้ และ มิติด้านเจตคติมี 12 ตัวบ่งชี้ 2. ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะ ด้านการวิจัยและพัฒนาของครู เรียงลำดับใน 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านเจตคติ ด้านความรู้ และด้านทักษะ 3. รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยและพัฒนาด้วยการเสริมสร้างพลังและการรับรู้ความสามารถของตน สำหรับครูมัธยมศึกษา ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ที่มาและความสำคัญของรูปแบบ 2) ทฤษฎีและแนวคิดพื้นฐาน 3) หลักการของรูปแบบ 4) จุดมุ่งหมายของรูปแบบ 5) เนื้อหาของรูปแบบการพัฒนา 6) ขั้นตอนการพัฒนาของรูปแบบ และ 7) การวัดและประเมินผล 4. ผลการใช้รูปแบบ พบว่า 4.1 สมรรถนะด้านการวิจัยและพัฒนาของครูหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งทางด้านความรู้ ทักษะและเจตคติ 4.2 การรับรู้ความสามารถของตนด้านการวิจัยและพัฒนาของครูหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คำสำคัญ : สมรรถนะ การวิจัยและพัฒนา การเสริมสร้างพลัง การรับรู้ความสามารถของตน
Article Details
How to Cite
สิทธิอมร ส. (2016). การพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยและพัฒนาด้วยการเสริมสร้างพลังและการรับรู้ความสามารถของตน สำหรับครูมัธยมศึกษา. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 10(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/7935
Section
บทความวิจัย (Research Articles)