การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อการวิจัยเรื่อง การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในพื้นที่ 3จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการดำ เนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในพื้นที่ 3จังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) พัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในพื้นที่ 3จังหวัดชายแดนภาคใต้ 3) ยืนยันระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในพื้นที่ 3จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R & D) ที่ใช้หลักการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed methodology)ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพโดยมีขั้นตอนการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 4 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาทฤษฎี หลักการและเอกสารที่เกี่ยวข้องและศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและข้อเสนอแนะการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ขั้นตอนที่ 2 ยกร่างระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ขั้นตอนที่ 3 ตรวจสอบร่างระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ขั้นตอนที่ 4 ประเมินระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนโดยกลุ่มตัวอย่างในการเก็บข้อมูลมีดังนี้ การบันทึกการศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และบันทึกรายงานประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษาที่เป็นต้นแบบ ใน 3 จังหวัดๆ ละ2 โรงเป็นโรงเรียนที่จัดการศึกษาระดับประถมศึกษา 1โรง และจัดการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา 1 โรง รวมทั้งสิ้น 6 โรง การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและข้อเสนอแนะการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูที่รับผิดชอบงานการประกันคุณภาพการศึกษา จำนวน 270 คน การสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) เพื่อพิจารณายกร่างระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้กลุ่มเป้าหมายจำนวน 20 คน การตรวจสอบร่างระบบการ ประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในพื้นที่ 3จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (IndepthInterview) กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้มาโดยวิธีเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 5 คน การตรวจสอบความเหมาะสมความเป็นไปได้ ความสอดคล้อง และความเป็นประโยชน์ระดับปฏิบัติ กลุ่มเป้าหมายได้แก่ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหรือผู้แทน เขตละ1 คน ศึกษานิเทศก์ที่รับผิดชอบงานการประกันคุณภาพการศึกษา เขตละ1 คน และผู้แทนผู้อำนวยการโรงเรียนเขตละ 1 คน มีจำนวน 10 เขตพื้นที่การศึกษา ได้มาโดยวิธีเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวนทั้งสิ้น 30 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยการหาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย(Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)การตรวจสอบความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความสอดคล้อง และความเป็นประโยชน์ โดยการหาค่าร้อยละ(Percentage) และค่าความถี่ (Frequency) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการสังเคราะห์เอกสารการสังเคราะห์ข้อมูลจากการสนทนากลุ่ม (Focus GroupDiscussion) และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการศึกษา สรุปได้ดังนี้1. สภาพปัจจุบันในการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านการจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายใน รองลงมาคือด้านการจัดระบบบริหารและสารสนเทศ และด้านการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา ตามลำดับ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาปัญหาในการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่า บุคลากรทางการศึกษาขาดความมุ่งมั่นและความทุ่มเทในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง โรงเรียนมีบุคลากรไม่เพียงพอทำให้ต้องทำหน้าที่หลายอย่าง การกำหนดมาตรฐานด้านอัตลักษณ์ของสถานศึกษายังไม่ชัดเจนขาดงบประมาณสนับสนุนด้านการบริหารโดยเฉพาะสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ครูไม่เพียงพอและ ครูไม่ตรงวิชาเอกที่โรงเรียนต้องการรวมทั้งบางคนไม่มีวุฒิการศึกษาทางครู ครูมีภาระหน้าที่นอกเหนือจากการสอนมากเกิน จนไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ครูมีการโยกย้าย และเปลี่ยนแปลงทำให้การปฏิบัติงานไม่ต่อเนื่อง บุคลากรบางส่วนยังขาดจิตสำนึกร่วมกันในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในและขาดความเข้าใจในระบบประกันคุณภาพ ระบบการกำกับติดตาม ประเมินยังไม่ส่งผลในการพัฒนาคูณภาพการศึกษาครูยังมีการพัฒนาตนเองน้อยครูขาดขวัญและกำลังใจ นโยบายการศึกษามีการเปลี่ยนแปลงบ่อยทำให้การดำเนินงานขาดความต่อเนื่องข้อเสนอแนะในการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ควรมีระบบที่ครอบคลุมองค์ประกอบสำคัญในการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายใน สามารถนำไปใช้ได้ในสถานการณ์จริงของของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ทุกโรงเรียน สอดคล้องกับหลักการ และทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง และให้บุคลากรมีวารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ : ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 เมษายน 2557 – กันยายน 2557 265ส่วนร่วมคิด ร่วมวางแผนการดำเนินงานในทิศทางเดียวกัน2. การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ คือระบบประกันคุณภาพแบบ CoPSPAR สามารถใช้เป็นรูปแบบในการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้การศึกษามีคุณภาพสูงขึ้นทัดเทียมกับพื้นที่อื่นของประเทศประกอบด้วย2.1 การวิเคราะห์บริบท (Co : Context)เป็นการจำแนกแยกแยะสิ่งต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือส่งผลกระทบต่อการจัดการศึกษา เช่น นโยบายทางการศึกษา เศรษฐกิจ สังคม การเมือง ศาสนาและวัฒนธรรม2.2 การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา (P : Planning) เป็นการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่สามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพที่สอดคล้องกับบริบทภารกิจเพื่อตอบสนองเป้าหมายคุณภาพการศึกษา อย่างมีประสิทธิภาพ2.3 การสร้างทีมงาน (S : Staff) เป็นกลุ่มของบุคคลที่มีทักษะต่างๆ ที่จะร่วมในกิจกรรมมีความเกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน โดยมีข้อตกลง มีวัตถุประสงค์ มีจุดมุ่งหมายในการทำงาน และมีแนวทาง ในการทำงานที่ทุกคนมีส่วนในการรับผิดชอบร่วมกัน เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายเดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพและผู้ปฏิบัติงานต่างก็เกิดความพอใจในการทำงานนั้น2.4 กระบวนการทำงาน (P : Process) เป็นกระบวนการ ในระบบประกันคุณภาพ ซึ่งมีการทำงานที่สัมพันธ์ต่อเนื่องที่สำคัญ ได้แก่ การประเมินคุณภาพภายใน การติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา และการพัฒนาคุณภาพการศึกษา2.5 การวัดและประเมินผล (A : Assessment)เป็นการประเมินเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลสารสนเทศสำหรับการตัดสินคุณค่าของโครงการ ผลิตผล ขบวนการจุดเน้นของการประเมิน คือ การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ได้ข้อสนเทศ เพื่อตัดสินคุณค่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ2.6 การรายงานผล (R : Report) เป็นการรายงานกระบวนการรวบรวมข้อมูลสารสนเทศโดยมีการรวบรวมข้อมูลและศึกษาอย่างเป็นระบบ เพื่อเปรียบเทียบการปฏิบัติงานกับเป้าหมายที่กำหนดไว้ว่าการดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่ โดยนำผลที่ได้มาพิจารณาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับแผนที่กำหนดไว้3. ผลตรวจสอบระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาตามรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านความเป็นประโยชน์ รองลงมา คือ ด้านความเหมาะสม และด้านความสอดคล้อง ตามลำดับส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านความเป็นไปได้ และควรเพิ่มเติมบทบาทของโรงเรียน บทบาทของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา บทบาทของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเงื่อนไขความสำเร็จในการดำเนินงานตามระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในพื้นที่3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แบบ CoPSPARคำสำคัญ : การประกันคุณภาพใน สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
Article Details
How to Cite
วิชยานุวัติ อ., สถาพรวจนา ศ., & แก้วกียูร ป. (2015). การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 8(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/6818
Section
บทความวิจัย (Research Articles)