พฤติกรรมการหางานทำที่ส่งผลต่อการมีงานทำของบัณฑิตมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตสงขลา
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อการศึกษานี้มุ่งศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีงานทำ อัตราการว่างงาน พฤติกรรมการหางานทำตลอดจนปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการเตรียมตัวสมัครงานของบัณฑิต ประชากร คือ บัณฑิตมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตสงขลา ที่จบการศึกษาในปีการศึกษา 2550-2554จำนวน 7,593 คน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิโดยใช้หน่วยคณะและสาขาเป็นชั้นภูมิ ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 390 คน สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีงานทำของบัณฑิตได้แยกเป็น 2 ส่วน คือ ปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยพฤติกรรมการหางานทำ โดยปัจจัยส่วนบุคคลที่พบว่าส่งผลต่อการมีงานทำของบัณฑิต ได้แก่ อาชีพของบิดารูปร่างหน้าตา ความเป็นผู้นำ ความเชื่อมั่นในตนเองและความกล้าแสดงออก ประสบการณ์การทำงาน ของบัณฑิต ส่วนปัจจัยด้านพฤติกรรมการหางานทำที่ส่งผลต่อการมีงานทำ ได้แก่ การเตรียมตัวด้านคอมพิวเตอร์การหาข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับตำแหน่งงาน2. บัณฑิตเพศชายมีงานทำประมาณ 77%ส่วนบัณฑิตเพศหญิงมีงานทำประมาณ 82% ในภาพรวมพบว่าบัณฑิตมีงานทำประมาณ 80% โดยทำงานตรงวุฒิประมาณร้อยละ 68% บัณฑิตที่มีงานทำร้อยละ 50%ได้รับเงินเดือนน้อยกว่าวุฒิ ซึ่งในทางเศรษฐศาสตร์ถือว่าการจบออกไปทำงานโดยยอมรับเงินเดือนที่ต่ำกว่าวุฒิการศึกษาถือว่าเป็นการว่างงานแฝง ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่าบัณฑิตที่มีงานทำและได้เงินเดือนตรงตามวุฒิประมาณครึ่งหนึ่งของบัณฑิตที่จบออกไปเท่านั้น3. พฤติกรรมการหางานทำของบัณฑิต พบว่าบัณฑิตส่วนใหญ่หาข่าวสารเกี่ยวกับตำแหน่งงานว่างจากสื่ออินเตอร์เน็ต รองลงมา คือ สื่อหนังสือพิมพ์ โดยจำนวนแหล่งงานที่สมัครเฉลี่ยประมาณคนละ 2-3 แหล่งนอกจากนี้ยังพบว่า มีบัณฑิตเตรียมตัวก่อนการสมัครงานด้านภาษาต่างประเทศประมาณ 89% ด้านคอมพิวเตอร์ประมาณ 77% สิ่งที่บัณฑิตคำนึงถึงในการสมัครงานมากที่สุดคือ คุณวุฒิและสาขาวิชาที่สำเร็จการศึกษารองลงมา คือ ชื่อเสียงของบริษัท และการมีคนที่รู้จักทำอยู่ก่อน ตามลำดับ4. ปัญหาและอุปสรรคในการสมัครงาน เรียงตามลำดับตามจำนวนบัณฑิตที่ประสบปัญหาเหล่านี้จากมากไปน้อย ดังนี้ สอบเข้าทำงานไม่ได้ เงื่อนไขในการจ้างมีมากเกินไป ปัญหาระยะทางระหว่างที่ทำงานและที่พัก ตำแหน่งงานว่างน้อย ขาดคุณสมบัติเฉพาะด้าน มีการใช้ระบบอุปถัมภ์ ต้องลดวุฒิในการสมัครงานจำนวนผู้สมัครสูงเป็นโอกาสของนายจ้างที่จะตัดสินใจเลือก ขาดประสบการณ์การทำงานด้านอื่นๆ เรียนมาไม่ตรงกับงาน อายุมาก ไม่มีงานที่มั่นคงและมีรายได้ดีไม่มีคนค้ำประกันการเข้าทำงาน ผลการเรียนไม่ดี5. ข้อเสนอแนะในการเตรียมตัวสมัครงานได้แก่ ควรมีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ในระดับที่ใช้งานได้มากกว่า 1 โปรแกรม ควรขับรถเป็น ควรใส่ใจรายละเอียดเกี่ยวกับการแต่งกาย ควรฝึกบุคลิกด้านการพูด ควรมีความสามารถพิเศษด้านอื่นนอกเหนือไปจากคุณวุฒิที่เรียนจบข้อเสนอแนะในเชิงนโยบายมหาวิทยาลัยควรส่งเสริมให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมอย่างหลากหลาย และควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดอบรมให้ความรู้ด้านภาษาต่างประเทศและการเตรียมตัวด้านคอมพิวเตอร์ หรืออบรมการขับรถให้ก่อนที่บัณฑิตจะจบออกไปหางานทำคำสำคัญ : การหางานทำ การมีงานทำ
Article Details
How to Cite
เทพรักษ์ ผ. (2015). พฤติกรรมการหางานทำที่ส่งผลต่อการมีงานทำของบัณฑิตมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตสงขลา. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 8(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/6809
Section
บทความวิจัย (Research Articles)