การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำตามแนวภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหาร สถานศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบรูปแบบภาวะผู้นำตามแนวภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดวิธีการดำเนินการวิจัย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1)วิเคราะห์ สังเคราะห์แนวความคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับรูปแบบภาวะผู้นำตามแนวภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการ 2)การศึกษาความต้องการภาวะผู้นำตามแนวภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการ ของผู้บริหารสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในปัจจุบัน 3) ออกแบบรูปแบบภาวะผู้นำตามแนวภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการ ของผู้บริหารสถานศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 4) ตรวจสอบรูปแบบภาวะผู้นำตามแนวภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน5) ปรับปรุงรูปแบบภาวะผู้นำตามแนวภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการ ของผู้บริหารสถานศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและนำเสนอในขั้นตอนศึกษาความต้องการภาวะผู้นำตามแนวภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการ ของผู้บริหารสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในปัจจุบัน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยครูผู้สอนจากโรงเรียนประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในพื้นที่เขตตรวจราชการกรุงเทพมหานครปีการศึกษา 2553 จำนวน 375 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเคร็จซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan. 1970) โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) กำหนดให้โรงเรียนเป็นชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามปลายเปิด สำหรับการศึกษาความต้องการภาวะผู้นำตามแนวภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในปัจจุบันในขั้นตอนตรวจสอบรูปแบบภาวะผู้นำตามแนวภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้วยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารการศึกษา จากกระทรวงศึกษาธิการ 5 คน ได้ทำการตรวจสอบความสอดคล้องเชิงเนื้อหาของรูปแบบภาวะผู้นำตามแนวภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการ ของผู้บริหารสถานศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เครื่องมือที่ใช้ในขั้นตอนนี้ คือแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นผลการวิจัย พบว่ารูปแบบภาวะผู้นำตามแนวภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการ ของผู้บริหารสถานศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้ มาตรฐานที่ 1 ผู้บริหารสถานศึกษารับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น (listening) ประกอบด้วย 3 ตัวบ่งชี้ มาตรฐานที่ 2 ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้มีความเห็นใจผู้ร่วมงาน (empathy) ประกอบด้วย 3 ตัวบ่งชี้มาตรฐานที่ 3 ผู้บริหารสถานศึกษาให้กำลังใจผู้ร่วมงาน (healing) ประกอบด้วย 4 ตัวบ่งชี้ มาตรฐานที่ 4ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้มีความตระหนักรู้ (awareness)ประกอบด้วย 3 ตัวบ่งชี้ มาตรฐานที่ 5 ผู้บริหารสถานศึกษามีความสามารถในการโน้มน้าวใจผู้อื่น (Persuasion)ประกอบด้วย 3 ตัวบ่งชี้ มาตรฐานที่ 6 ผู้บริหารสถานศึกษามีความสามารถในการสรุปแนวความคิด(Conceptualization) ประกอบด้วย 2 ตัวบ่งชี้ มาตรฐานที่ 7 ผู้บริหารสถานศึกษามีความสามารถในการคาดการณ์(Foresight) ประกอบด้วย 3 ตัวบ่งชี้ มาตรฐานที่ 8ผู้บริหารสถานศึกษามีจิตอาสาในการดูแลช่วยเหลือผู้อื่น (Stewardship) ประกอบด้วย 3 ตัวบ่งชี้ มาตรฐานที่ 9 ผู้บริหารสถานศึกษามุ่งมั่นสร้างความก้าวหน้าให้แก่บุคลากร (Commitment to the Growth of People)ประกอบด้วย 3 ตัวบ่งชี้ และมาตรฐานที่ 10 ผู้บริหารสถานศึกษาส่งเสริมการสร้างชุมชน (Building Community)ประกอบด้วย 3 ตัวบ่งชี้คำสำคัญ : ผู้นำแบบใฝ่บริการ ผู้บริหารสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Article Details
How to Cite
โรจน์รัตนวานิชย์ น., & ฉัตรกมลทัศน์ ส. (2015). การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำตามแนวภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหาร สถานศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 8(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/6789
Section
บทความวิจัย (Research Articles)