การพัฒนารูปแบบการค้นหาผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษระดับปฐมวัย ในโรงเรียนสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการค้นหาผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษระดับปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารโรงเรียน ครูปฐมวัยและผู้ปกครองในโรงเรียนสังกัดกระทรวงศึกษาธิการจำนวน 345 โรง ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 6คน และการสนทนากลุ่มเพื่อพิจารณาความเหมาะสมของรูปแบบ ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการค้นหาผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษระดับปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดกระทรวงศึกษาธิการที่เหมาะสม ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 2 ส่วน คือ กระบวนการบริหารโรงเรียนเพื่อการค้นหาผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษที่ดำเนินการโดยใช้หลักการบริหารจัดการแบบ POLC และกระบวนการปฏิบัติ การเพื่อการค้นหาผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ ซึ่งใช้วงจรเดมมิ่งในการบริหารงานประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การให้ความรู้แก่ครูประจำชั้นและผู้ปกครองทุกคนเกี่ยวกับพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัยและพัฒนาการที่มีความบกพร่องหรือล่าช้า 2) การรับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษจากการส่งต่อ 3) การสำรวจค้นหาผู้เรียนที่ผ่านการรับรองความพิการ 4) การคัดกรองผู้เรียนทั้งโรงเรียน 5) การติดตามพัฒนาการของผู้เรียนที่เรียนในชั้นเรียนปกติ 6)การประเมินระดับพัฒนาการ และ 7) การพิจารณาระดับและความบกพร่องล่าช้าของพัฒนาการในผู้เรียนโดยทีมสหวิชาชีพคำสำคัญ : การค้นหา การศึกษาพิเศษ เด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
Article Details
How to Cite
สีตะธนี ป., อุดมพิริยะศักย์ ส., & กุละศิริมา เ. (2015). การพัฒนารูปแบบการค้นหาผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษระดับปฐมวัย ในโรงเรียนสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 8(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/6783
Section
บทความวิจัย (Research Articles)