ปัจจัยพื้นฐานทางการศึกษาของโรงเรียน การเสริมพลังการสอนโดยใช้การ ประเมินเป็นฐานที่สัมพันธ์กับผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียนในรายวิชา คณิตศาสตร์และภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อความมุ่งหมายของการวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และค่าน้ำหนักความสำคัญที่ส่งผลต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ในรายวิชาคณิตศาสตร์และภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เป็นตัวบ่งชี้คุณภาพการสอนของครูประจำชั้นเรียน กลุ่มตัวแปรปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยพื้นฐานทางการศึกษาของโรงเรียนในด้านลักษณะของผู้บริหารและสถานศึกษา ประกอบด้วย ภาวะผู้นำของผู้บริหาร ขนาดของสถานศึกษาและสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน ในด้านลักษณะของผู้สอน ประกอบด้วย ประสบการณ์ในการสอน วุฒิทางการศึกษาของครู และภาระงานของครู การเสริมพลังการสอนโดยใช้การประเมินเป็นฐาน ประกอบด้วยการทำงานอย่างมีอิสระ การมีส่วนร่วมในการทำงานและการประเมินตนเองและพร้อมรับการตรวจสอบกลุ่มตัวอย่างเป็นครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ปฏิบัติการสอนในรายวิชาคณิตศาสตร์และภาษาไทยในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ จำนวน 428คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบสองขั้นตอน (Two-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ ประกอบ ด้วย แบบสอบถามปัจจัยพื้นฐานทางการศึกษาของโรงเรียน ด้านภาวะผู้นำของผู้บริหารและสถานศึกษา สภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน การเสริมพลังการสอนโดยใช้การประเมินเป็นฐาน และผลการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับชาติ(National Test) ในปีการศึกษา 2550 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีวิเคราะห์สหสัมพันธ์พหุคูณ (MultipleRegression Analysis) โดยวิธี Blockwise enterselectionผลการศึกษา พบว่า1. ผลลัพธ์การเรียนรู้ในรายวิชาคณิตศาสตร์และภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เป็นตัวบ่งชี้คุณภาพการสอนของครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในระดับพอใช้2. ตัวแปรปัจจัยพื้นฐานทางการศึกษาของโรงเรียน คือ ขนาดของสถานศึกษาขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับสถานศึกษาขนาดเล็ก สภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน และวุฒิทางการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีเมื่อเทียบกับวุฒิทางการศึกษาปริญญาตรี ตัวแปรการเสริมพลังการสอนโดยใช้การประเมินเป็นฐาน คือ การทำงานอย่างมีอิสระ ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของผลลัพธ์การเรียนรู้ในรายวิชาคณิตศาสตร์และภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เป็นตัวบ่งชี้คุณภาพการสอนของครูประจำชั้นเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยตัวแปรสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน ส่งผลทางบวกต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ในรายวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ตัวแปรขนาดของสถานศึกษาขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับสถานศึกษาขนาดเล็ก ส่งผลทางลบต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ในรายวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 การทำงานอย่างมีอิสระส่งผลทางลบต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ในรายวิชาคณิตศาสตร์และในรายวิชาภาษาไทยของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และตัวแปรวุฒิทางการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีเมื่อเทียบกับวุฒิทางการศึกษาปริญญาตรี ส่งผลทางบวกต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ในรายวิชาคณิตศาสตร์และในรายวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เป็นตัวบ่งชี้คุณภาพการสอนของครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 3คำสำคัญ : การเสริมพลังการสอนโดยใช้การประเมิน
Article Details
How to Cite
ปราณีสร ส., นัยพัฒน์ อ., & รักษ์เผ่า ล. (2015). ปัจจัยพื้นฐานทางการศึกษาของโรงเรียน การเสริมพลังการสอนโดยใช้การ ประเมินเป็นฐานที่สัมพันธ์กับผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียนในรายวิชา คณิตศาสตร์และภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 7(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/6750
Section
บทความวิจัย (Research Articles)