การศึกษาและการสร้างโปรแกรมการลดความก้าวร้าวของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โดยใช้กิจกรรมกลุ่ม
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาความก้าวร้าวของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อเปรียบเทียบความก้าวร้าวของนักเรียนช่วงชั้นที่3เมื่อจำแนกตามตัวแปรด้านส่วนตัว ตัวแปรด้านครอบครัว และตัวแปรด้านสังคม 3) เพื่อเปรียบเทียบความก้าวร้าวของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 ก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการลดความก้าวร้าว ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โดยใช้กิจกรรมกลุ่ม ประชากรที่ศึกษาเป็นนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 ของโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2552 จำนวน 720 คน กลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมโปรแกรมการลดความก้าวร้าวเป็นนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 ที่มีคะแนนความก้าวร้าวตั้งแต่เปอร์เซ็นไทล์ที่ 75ขึ้นไป จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถามบุคลิกภาพ สัมพันธภาพในครอบครัวสัมพันธภาพกับเพื่อน อิทธิพลของสื่อ แบบสอบถามวัดความก้าวร้าว และโปรแกรมการลดความก้าวร้าว โดยใช้กิจกรรมกลุ่ม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ร้อยละ และคะแนนเปอร์เซ็นไทล์ของคะแนนความก้าวร้าว สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน คือ t-test fordependent Samples และF-test ผลการวิจัย พบว่า1) นักเรียนมีบุคลิกภาพต่างกันมีสัมพันธภาพในครอบครัวต่างกันมีสัมพันธภาพกับเพื่อนต่างกัน และได้รับอิทธิพลของสื่อต่างกันมีความก้าวร้าวแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนที่เข้าร่วมโปรแกรมการลดความก้าวร้าวของนักเรียนช่วงชั้นที่3 โดยใช้กิจกรรมกลุ่ม มีความก้าวร้าวลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01คำสำคัญ : การลดความก้าวร้าว, กิจกรรมกลุ่ม
Article Details
How to Cite
ปรารภ พ., อ่อนโคกสูง ช., & อรรถศิริ อ. (2015). การศึกษาและการสร้างโปรแกรมการลดความก้าวร้าวของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โดยใช้กิจกรรมกลุ่ม. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 7(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/6745
Section
บทความวิจัย (Research Articles)