พฤติกรรมเอื้อเฟื้อ ความเชื่อทางศาสนา และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจในการบริจาคโลหิตของผู้บริจาคโลหิตในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

อุสา สุทธิสาคร

Abstract

บทคัดย่อ งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมเอื้อเฟื้อ ความเชื่อทางศาสนา และสิ่งจูงใจตลอดจนปัจจัยอื่นๆ ที่เป็นแรงจูงใจในการบริจาคโลหิตของผู้บริจาคโลหิตในกรุงเทพมหานครการวิจัยใช้วิธีการเชิงปริมาณและคุณภาพใช้เทคนิคการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) จากผู้บริจาคโลหิตณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติสภากาชาดไทย กรุงเทพมหานครเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามโดยให้กลุ่มตัวอย่างรายงานตนเองจำนวน 981 คน และสัมภาษณ์ผู้บริจาคโลหิตและเจ้าหน้าที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทยจำนวนรวม34 คน ระหว่างเดือนสิงหาคม 2555-กรกฎาคม 2557  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามข้อมูลพฤติกรรมการบริจาคโลหิต มาตรวัดเจตคติต่อการบริจาคโลหิตและมาตรวัดพฤติกรรมเอื้อเฟื้อโดยมาตรวัดเจตคติต่อการบริจาคโลหิตมีค่าความเที่ยง Cronbach’s Alpha เท่ากับ 0.94และมาตรวัดพฤติกรรมเอื้อเฟื้อมีค่าความเที่ยง Cronbach’s Alpha 0.98วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันการถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวผลการวิเคราะห์พฤติกรรมเอื้อเฟื้อและความเชื่อทางศาสนาของผู้บริจาคที่นับถือศาสนาต่างกันพบว่าไม่แตกต่างกันการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวของพฤติกรรมเอื้อเฟื้อของผู้บริจาคโลหิตในแต่ละช่วงอายุ พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ การเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ ด้วยวิธี Bonferroni พบว่า กลุ่มผู้บริจาคโลหิตวัยรุ่น (อายุ 18-25 ปี) มีพฤติกรรมเอื้อเฟื้อสูงกว่ากลุ่มผู้บริจาคโลหิตวัยกลางคน(อายุ 41-55 ปี) และวัยสูงอายุ (อายุ 55 ปีขึ้นไป)อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(ความแตกต่างของค่าเฉลี่ย 8.75, p<.01 และ19.87, p<.01ตามลำดับ) นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มผู้บริจาคโลหิตวัยทำงาน (อายุ 26-40ปี) มีคะแนนพฤติกรรมเอื้อเฟื้อสูงกว่ากลุ่มผู้บริจาคโลหิตวัยสูงอายุ (55 ปีขึ้นไป) อย่างมีนัยสำคัญโดยมีความแตกต่างของค่าเฉลี่ย 14.68, p<.05ผลการศึกษาพบว่าความเอื้อเฟื้อ (altruism) เป็นแรงจูงใจสำคัญที่ทำให้กลุ่มตัวอย่างมาบริจาคโลหิตทั้งในการบริจาคโลหิตครั้งแรก (ร้อยละ 61.20) และการกลับมาบริจาคโลหิตครั้งต่อไป (ร้อยละ 64.44)  สอดคล้องกับที่ผู้บริจาคโลหิตส่วนใหญ่รายงานว่าไม่ต้องการสิ่งของตอบแทน (ร้อยละ 61.26)ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการบริจาคโลหิตครั้งปัจจุบันที่สำคัญได้แก่ จำนวนครั้งของการบริจาคในปีแรก ซึ่งมีอิทธิพลทางตรงสูงสุดในการทำนายพฤติกรรมการบริจาคโลหิตปัจจุบัน รองลงมาได้แก่ อายุ และเจตคติต่อการบริจาคโลหิต เพศชายมีจำนวนครั้งการบริจาคเฉลี่ย สูงกว่าเพศหญิง และผู้ที่ให้เหตุผลว่ามาบริจาคด้วยใจเอื้อเฟื้อ มีจำนวนครั้งการบริจาคโดยเฉลี่ยสูงกว่าผู้ที่รายงานว่ามาบริจาคด้วยเหตุผลอื่นๆ โดยมีสัมประสิทธ์การทำนาย (R2).142  ผลการศึกษาเชิงคุณภาพพบว่า การบริจาคโลหิตเป็นพฤติกรรมเอื้อเฟื้อที่มาจากแรงจูงใจแบบผสมผสาน (impure altruism) ทั้งจากแรงจูงใจที่มาจากการนึกถึงสังคมเป็นหลัก  (altruism) และคำนึงถึงตนเองเป็นหลัก (egoism) โดยมี “บุญ”เป็นกลไกผลักดันสำคัญที่อยู่เบื้องหลังการบริจาคโลหิตของผู้บริจาคโลหิตชาวไทยส่วนใหญ่คำสำคัญ พฤติกรรมเอื้อเฟื้อ  การบริจาคโลหิต

Article Details

How to Cite
สุทธิสาคร อ. (2015). พฤติกรรมเอื้อเฟื้อ ความเชื่อทางศาสนา และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจในการบริจาคโลหิตของผู้บริจาคโลหิตในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 9(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/6631
Section
บทความวิจัย (Research Articles)