การศึกษาการปฏิบัติงานการประเมินเทียบระดับการศึกษาของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเขตในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ลำไพ โพธิ์ศรีขาม
กัมปนาท บริบูรณ์

Abstract

บทคัดย่อ งานวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย (1) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสภาพการปฏิบัติงานการประเมินเทียบระดับการศึกษาของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเขต ในกรุงเทพมหานคร 7 ด้าน คือ ด้านการประชาสัมพันธ์รับสมัคร ด้านการแนะแนวและรับสมัคร ด้านการปฐมนิเทศ ด้านการประเมินมิติความรู้ ความคิด ด้านการประเมินมิติประสบการณ์ ด้านการสัมมนาวิชาการ และด้านการจบหลักสูตรและหลักฐานการศึกษา  (2) เพื่อเสนอแนวทางการปฏิบัติงานการประเมินเทียบระดับการศึกษาของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเขตในกรุงเทพมหานคร ที่มีประสิทธิภาพ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ  ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน  26 คน  เจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องกับการประเมิน จำนวน  26 คน และคณะกรรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา จำนวน 78 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 130 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 6 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย    ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test F-test และวิธีการของ Tukey HSD และใช้วิธีสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.  ผู้บริหารสถานศึกษา เจ้าหน้าที่ดำเนินงาน และคณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษา มีผล การศึกษาตามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง ที่มีความคิดเห็นต่อสภาพของการปฏิบัติงานการประเมินเทียบระดับการศึกษา ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเขต ในกรุงเทพมหานคร โดยรวม อยู่ในระดับมาก  เมื่อพิจารณารายด้าน โดยเรียงลำดับด้านที่มีค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้ 1) ด้านการประเมินมิติประสบการณ์ 2) ด้านการประเมินมิติ ความรู้ ความคิด 3) ด้านการสัมมนาวิชาการ  4) ด้านการจบหลักสูตรและหลักฐานการศึกษา 5) ด้านการแนะแนวการรับสมัคร 6) ด้านการปฐมนิเทศ และ 7) ด้านการประชาสัมพันธ์รับสมัคร ผลการเปรียบเทียบการปฏิบัติงานการประเมินเทียบระดับการศึกษา พบว่า ตัวแปรต้นที่ใช้ในการศึกษา ซึ่งประกอบด้วย เพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งหน้าที่ในการปฏิบัติงานเทียบระดับการศึกษา และประสบการณ์ปฏิบัติงานการประเมินเทียบระดับการศึกษา เมื่อเปรียบเทียบแล้วไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในภาพรวม แต่มีบางด้านทีมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เช่น ด้านการปฐมนิเทศ ด้านสัมมนาวิชาการ 2. ข้อเสนอของแนวทางพบว่า ควรมีการประชาสัมพันธ์ด้านการประเมินเทียบระดับด้วยสื่อที่หลากหลาย การปฐมนิเทศควรมุ่งเน้นในเรื่องขั้นตอนการประเมินเทียบระดับเกณฑ์การจบหลักสูตร  การแนะแนวควรมีการแนะแนวตลอดการเรียนการสอน และการประเมินมิติความรู้ความคิดควรให้ครูผู้สอนและผู้เข้าร่วมประเมินมีส่วนร่วมในการออกข้อสอบ คำสำคัญ : การประเมินเทียบระดับการศึกษา ระดับการปฏิบัติ

Article Details

How to Cite
โพธิ์ศรีขาม ล., & บริบูรณ์ ก. (2015). การศึกษาการปฏิบัติงานการประเมินเทียบระดับการศึกษาของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเขตในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 9(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/6626
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

Most read articles by the same author(s)