แรงจูงใจในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 ในเขตจังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

จุฑามาศ ชูจินดา
กิติยานภาลัย ภู่ตระกูล
ณภัทร โชคธนินกุล

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงและเปรียบเทียบแรงจูงใจในการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ของนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 และประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 ในเขตจังหวัดนนทบุรี จำแนกตามเพศ เกรดเฉลี่ยสะสม ระดับการศึกษาของบิดาและมารดา อาชีพหลักของบิดาและมารดา และรายได้ต่อเดือนของบิดาและมารดา ของผู้ตอบแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปีที่ 3ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 ของโรงเรียนสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดนนทบุรี จำนวน 400 คน ผู้วิจัยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกแจงค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบที (t-test) และการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยวิธีของ Scheffé ผลการวิจัย พบว่า แรงจูงใจในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 และประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 ในเขตจังหวัดนนทบุรี โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยแต่ละด้านเรียงตามลำดับ คือ เหตุผลส่วนตัว ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ภาพลักษณ์ของสถาบัน ปัจจัยทางสังคม และบุคคลที่เกี่ยวข้องผลการศึกษาเปรียบเทียบ มีดังต่อไปนี้2.1  นักเรียนชายและนักเรียนหญิง มีแรงจูงใจในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาโดยรวมและเป็นรายด้าน ไม่แตกต่างกัน 2.2 นักเรียนที่มีเกรดเฉลี่ยระหว่าง 3.00 – 4.00 มีแรงจูงใจในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาอยู่ในระดับสูงกว่ากลุ่มอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.3 นักเรียนที่บิดาและมารดามีการศึกษาระดับต่ำกว่าระดับอนุปริญญา และมีการศึกษาระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่ามีแรงจูงใจในการศึกษาต่อสูงกว่านักเรียนที่มีบิดาและมารดามีการศึกษาระดับปริญญาตรีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.4 นักเรียนที่บิดามีอาชีพรับราชการ/รัฐวิสาหกิจ มีแรงจูงใจในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาแตกต่างกับนักเรียนที่บิดามีอาชีพค้าขาย และอาชีพรับจ้าง ส่วนนักเรียนที่มารดามีอาชีพต่างกันมีแรงจูงใจในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาไม่แตกต่างกัน 2.5    นักเรียนที่บิดามีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 5,000 บาท มีแรงจูงใจในการศึกษาต่อสูงกว่านักเรียนที่บิดามีรายได้ต่อเดือนสูงกว่า 15,000 บาท และนักเรียนที่มารดามีรายได้ต่อเดือน 5,001 - 10,000 บาท มีแรงจูงใจในการศึกษาต่อสูงกว่านักเรียนที่มารดามีรายได้ต่อเดือน 10,001 - 15,000 บาทอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คำสำคัญ : แรงจูงใจในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาแรงจูงใจ

Article Details

How to Cite
ชูจินดา จ., ภู่ตระกูล ก., & โชคธนินกุล ณ. (2015). แรงจูงใจในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 ในเขตจังหวัดนนทบุรี. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 9(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/6619
Section
บทความวิจัย (Research Articles)