บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารงานวิชาการ สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารงานวิชาการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมสงขลา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา ปีการศึกษา 2556 จำนวน 362 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบ ค่าเอฟ (F-test) และเปรียบเทียบ ค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีการของ Scheffe' 1นักศึกษาปริญญาโทหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่สงขลา 90110 ประเทศไทย 2รองศาสตราจารย์ ดร., อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ สงขลา 90110 ประเทศไทย 3ดร.อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา สงขลา 90000 ประเทศไทย ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนมีความคิดเห็นต่อบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารงานวิชาการโดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก ยกเว้นด้านการนิเทศ กำกับ ติดตาม และรายงานผลการประเมินงานวิชาการ อยู่ในระดับปานกลาง 2) ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนมีความคิดเห็นต่อบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารงานวิชาการแตกต่างกันตามสถานภาพ วุฒิการศึกษา และการปฏิบัติงานในสถานศึกษาที่มีขนาดต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01แต่ไม่แตกต่างกันตามประสบการณ์ในการทำงาน คำสำคัญ : บทบาทของผู้บริหาร, การบริหารงานวิชาการ ผู้บริหารสถานศึกษาDownloads
How to Cite
รัตนะ ไ., สุรรณณัฐโชติ ร., & คงช่วย ร. (2015). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารงานวิชาการ สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 9(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/6566
Issue
Section
บทความวิจัย (Research Articles)