ความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย SELF - CONFIDENCE OF PRESCHOOL CHILDREN THROUGH CHILDREN AS RESEARCHERS LEARNING.
Main Article Content
Abstract
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยทั้งโดยรวมและแยกเป็นรายด้าน ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัย ชาย – หญิงอายุระหว่าง 4 – 5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นปฐมวัยปีที่ 2ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลพิมพา อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทราจำนวน 15 คน ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 30นาที รวมทั้งสิ้น 40 ครั้งเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้คือ แผนการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย และแบบประเมินความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัย ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างพฤติกรรมกับจุดประสงค์ (IOC) อยู่ระหว่าง 0.67 ถึง 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .67 การวิจัยครั้งนี้ ใช้แผนการทดลองแบบ One–Group Pretest – Posttest Designสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ t–test แบบ DependentSampleผลการศึกษาวิจัย พบว่า ความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยรายด้านทุกด้านและโดยรวมก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย อยู่ในระดับปานกลาง ( =.49,.58,.51,.64และ.56) หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย อยู่ในระดับมาก ( =1.67,1.71,1.71,1.84 และ1.73) แสดงว่าการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยส่งเสริมเด็กปฐมวัยให้มีระดับความเชื่อมั่นในตนเองสูงขึ้นอย่างชัดเจน
Article Details
How to Cite
บัวภา ท. (2013). ความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย SELF - CONFIDENCE OF PRESCHOOL CHILDREN THROUGH CHILDREN AS RESEARCHERS LEARNING. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 7(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/3163
Section
บทความวิจัย (Research Articles)