การเสริมสร้างพลังอำนาจครูของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1

THE TEACHER EMPOWERMENT OF ADMINISTRATORS OF SCHOOL UNDER SAMUTPRAKAN PRIMARY EDUCATION SERVICE AREA OFFICE 1

Authors

  • ปรัชญา นาคประสิทธิ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • รัตนา กาญจนพันธุ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

Keywords:

การเสริมสร้างพลังอำนาจครู, ผู้บริหารสถานศึกษา

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเสริมสร้างพลังอำนาจครูของผู้บริหารสถานศึกษา และ 2) เปรียบเทียบการเสริมสร้างพลังอำนาจครูของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และขนาดสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูที่ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา ปีการศึกษา 2566 โดยใช้ วิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1) การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยใช้ขนาดสถานศึกษา ขนาดใหญ่พิเศษ ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง-ขนาดเล็ก 2) การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) โดยสุ่มตามสัดส่วนของโรงเรียนแต่ละขนาด จากการเปิดตารางของ Cohen ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 322 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็นของครู ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.982 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test independent) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของ เชฟเฟ่ (Scheffe’s Multiple Comparison Method) ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการเสริมสร้างพลังอำนาจครูของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ครูที่มีวุฒิการศึกษาต่างกันมีความคิดเห็นต่อการเสริมสร้างพลังอำนาจครูของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3) ครูที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการเสริมสร้างพลังอำนาจครูของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน และ 4) ครูที่อยู่ในขนาดสถานศึกษาต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการเสริมสร้างพลังอำนาจครูของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ครูที่มีขนาดสถานศึกษาต่างกันมีความคิดเห็นต่อการเสริมสร้างพลังอำนาจครูของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านการส่งเสริมความร่วมมือในองค์การ และด้านการสร้างทีมงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

ณัฐวุฒิ ปั้นเหน่งเพชร. (2559). แนวทางการเสริมสร้างพลังอำนาจระดับบุคคลของครูอัตราจ้างในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา ภาควิชาพื้นฐานทางการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธิติ ธีระเธียร .(2562). Digital Disruption กับ ครูในศตวรรษที่ 21. สืบค้นจาก https://www.starfishlabz.com/blog/4-digital-disruption-กับครูไทยในศตวรรษที่-21

ปิยะลักษณ์ ชูสอน. (2560). การเสริมสร้างพลังอำนาจครูที่ส่งผลต่อชุมชนการเรียนรู้ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ปารวี วินทะไซย์. (2564). การเสริมสร้างพลังอำนาจในการปฏิบัติงานของครูในสหวิทยาเขตเบญจบูรพา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. การศึกษาอิสระ หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พัชราภรณ์ ธรรมมา. (2561). การเสริมสร้างพลังอำนาจครูของโรงเรียนราชวนิตบางแก้ว จังหวัดสมุทรปราการ.การศึกษาค้นคว้าอิสระ หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา,มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ภิญญาพัชญ์ เทียมเมืองแพน. (2560). แนวทางการเสริมสร้างพลังอำนาจครูในการจัดการเรียนรู้ สำหรับโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 3. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ภูวไนย สุนา. (2563). การเสริมสร้างพลังอำนาจการทำงานของครู Empowerment of Teachers. บทคัดย่อ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. Dhammathas Academic Journal.ปีที่ 20 ฉบับที่ 4, 159.

วนิดา ทิพย์กมลธนกุล. (2562). การเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้บริหารกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วีรพงศ์ โฆษิตพิมานเวช และ นิยดา เปี่ยมพืชนะ. (2561). การเสริมสร้างพลังอำนาจครูของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ขอนแก่น เขต 1. วารสารวิชาการและการวิจัย มหาวิทยาลัย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 8 (3), 24-31.

สรายุทธ ช่างงาม. (2549). การเสริมสร้างพลังอำนาจครูของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อภิสิทธิ์ พึ่งภพ. (2564). การเสริมสร้างพลังในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรปริญญาครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

อภินันท์ เจริญศิริ. (2560). กลยุทธ์ของผู้บริหารในการเสริมสร้างพลังอำนาจครูโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

เอกพล พันธุ์โชติ. (2560). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมิติการเสริมสร้างพลังอำนาจครูกับความผูกพันต่อองค์กรของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พระนครศรีอยุธยา เขต 1. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

Chutterbuck, D., & Kernaghan, S. (1995). The power of empowerment: Release the Hidden Talents of your employees. London: Kogan Page.

Cohen, L., Manion, L., & Morrison, K. (2011). Research methods in education (7 th Ed.). New York: Routledge.

Scott, Cynthia D. and Dennis T. Jaffe. (1991). Empowerment: Building a Committed Workforce. California: Kogan Page.

Downloads

Published

2024-05-28

How to Cite

นาคประสิทธิ์ ป. ., & กาญจนพันธุ์ ร. . (2024). การเสริมสร้างพลังอำนาจครูของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1: THE TEACHER EMPOWERMENT OF ADMINISTRATORS OF SCHOOL UNDER SAMUTPRAKAN PRIMARY EDUCATION SERVICE AREA OFFICE 1. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 19(1), 112–125. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/15929