การศึกษาวัฒนธรรมคุณภาพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดพิษณุโลก

A STUDY OF QUALITY CULTURE OF EDUCATIONAL INSTITUTION UNDER THE AUTHORITY OF THE PHITSANULOK PROVINCIAV VOCATIONAL EDUCATION OFFICE

Authors

  • ณัฐภูมิ จับคล้าย สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ธีรศักดิ์ อุปไมยอธิชัย สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Keywords:

วัฒนธรรมคุณภาพ, คุณภาพการศึกษา, อาชีวศึกษา

Abstract

การวิจัยเรื่อง การศึกษาวัฒนธรรมคุณภาพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดพิษณุโลก มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาวัฒนธรรมคุณภาพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดพิษณุโลก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้มาจากวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น ตามสัดส่วนของผู้อำนวยการสถานศึกษาและครูแต่ละสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดพิษณุโลก จำนวน 210 คน แบ่งเป็นผู้บริหารสถานศึกษา 21 คน ได้มาจากจำนวนประชากรที่เป็นผู้บริหารทั้งหมด และครู 189 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 34 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า วัฒนธรรมคุณภาพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดพิษณุโลก ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 4.41 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีการปฏิบัติสูงสุด คือ ด้านการให้ความสำคัญกับผู้เรียน มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 4.47 รองลงมาคือ ด้านการกระจายอำนาจ มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 4.46 และด้านที่มีการปฏิบัติตํ่าสุดคือ ด้านการทำงานเป็นทีม โดยมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 4.34 จากผลการศึกษาพบว่า วัฒนธรรมคุณภาพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดพิษณุโลก ผลการวิจัยพบว่า การทำงานเป็นทีม เป็นด้านที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในลำดับที่ตํ่าที่สุด ดังนั้นให้มีการส่งเสริมการทำงานเป็นทีมภายในสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีการกำหนดเป้าหมายของสถานศึกษาร่วมกับครูและบุคลากรภายในสถานศึกษา ร่วมมือกัน ร่วมคิด ร่วมทำ ประสานงานกันในการปฏิบัติงาน มีสัมพันธภาพระหว่างเพื่อนร่วมงาน และมุ่งมั่นในการปฏิบัติงานจนบรรลุความสำเร็จร่วมกันอย่างมีคุณภาพ

References

กรรณาภรณ์ สินประสงค์ (2565). รูปแบบวัฒนธรรมคุณภาพของสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยธนบุรี,16(3) ,154-164.

คชธร คชพันธ์. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารวัฒนธรรมคุณภาพสำหรับโรงเรียนประถมศึกษา.วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 14(26): 18-27.

ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์. (2558). วัฒนธรรมคุณภาพ : สร้างคน สร้างชาติ. สืบค้น 10 เมษายน 2566, จาก http://www.onesqa.or.th/th/ contentdownload-view/929/1155/.

นันทพร แสงอุไร. (2559). การพัฒนารูปแบบวัฒนธรรมคุณภาพโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์. (2551). แผนกลยุทธ์เพื่อการพัฒนาวัฒนธรรมคุณภาพของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก. ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารอาชีวศึกษา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

ภาวนา กิตติวิมลชัย. (2557). วัฒนธรรมคุณภาพสถาบันอุดมศึกษา : ในเครือข่ายอุดมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). คณะศึกษาศาสตร์, ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

มารยาท แซ่อึ้ง. (2552). การศึกษาการบริหารงานวัฒนธรรมคุณภาพของสถานศึกษาระดับ มัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล.

(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาบริการการศึกษา, กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรปรัชญ์ หลวงโย (2564). กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นาของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่21. วารสารวารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์,19(1) ,59-72.

ศิริพงษ์ ตรัสศรี. (2564). การศึกษาแนวทางเสริมสร้างวัฒนธรรมคุณภาพโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร,9(34), 283-291.

สถิรพร เชาวน์ชัย. (2561). การวิจัยทางการบริหารการศึกษา เอกสารประกอบการสอนวิชา 354517 การวิจัยทางการบริหารการศึกษา. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สุธารัตน์ ทองเหลือ. (2559). คุณลักษณะและพฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมคุณภาพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2. วารสาร Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 9(3), 1055–1068.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2558). วัฒนธรรมคุณภาพ : สร้างคน สร้างชาติ. สืบค้น 10 เมษายน 2566, จาก http://www.onesqa.or.th/th/ contentdownload-view/929/1155/.

สุปวีย์ ศรีวันทนาสกุล. (2564). การศึกษาวัฒนธรรมคุณภาพและแนวทางการส่งเสริมวัฒนธรรมคุณภาพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาแพร่ เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). คณะศึกษาศาสตร์, พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สุพล จันต๊ะคาด. (2560). รูปแบบการส่งเสริมวัฒนธรรมคุณภาพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). คณะศึกษาศาสตร์, พิษณุโลก :

มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สรรเพชญ พนัสบดี. (2552). การบริหารคุณภาพ Quality management. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สุเขตร์ ศรีบุญเรือง. (2561). การพัฒนาตัวบ่งชี้วัฒนธรรมคุณภาพของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาสังกัดคณะกรรมการการศึกษาชั้นพื้นฐาน (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2555). บันทึก สมศ. 2555: แผนกลยุทธ์สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (องค์การมหาชน). ฉบับที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2554-2558

Gryna, F.M. (2005) Quality planning and analysis: From product development Through use (4" ed.). Singapore: McGraw-Hill.

Oakland. (2008). Total Quality Management: Text with cases (3 ed.). Oxford: Butterworth-Heinemannevier.

Tower Perrin. (2009). Building a quality-focused culture. [Online]. September. Available from, http://www.towersperin.com/tp/getwebcachedoc?country=gbr&webc-=HRS/GBR/2008/200805/CaseStudy May08QUALITYFOCUSED CULTURE Manufacturing final.pdf. [2022, April 10]

Downloads

Published

2024-05-28

How to Cite

จับคล้าย ณ., & อุปไมยอธิชัย ธ. (2024). การศึกษาวัฒนธรรมคุณภาพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดพิษณุโลก: A STUDY OF QUALITY CULTURE OF EDUCATIONAL INSTITUTION UNDER THE AUTHORITY OF THE PHITSANULOK PROVINCIAV VOCATIONAL EDUCATION OFFICE. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 19(1), 60–69. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/15717