แนวทางการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง 4 ภาค APPROACHES FOR THE DEVELOPMENT OF LEARNING MATERIALS FOR APPLICATIONS ON SMARTPHONES IN THE SUBJECT OF THAI-FOLK DANCE

Main Article Content

ชนาพร กองจินดา
สุรีรัตน์ จีนพงษ์
รัฐพล ประดับเวทย์

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง 4 ภาค เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยศึกษากระบวนการพัฒนาแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนร่วมกับหลักการสอนของกาเย่ 9 ขั้นตอน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ 1) อาจารย์ผู้ที่มีประสบการณ์การสอนด้านสื่อและเทคโนโลยีไม่น้อยกว่า 5 ปี และ 2) อาจารย์ผู้ที่มีประสบการณ์การสอนด้านนาฏศิลป์ไม่น้อยกว่า 5 ปี เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการวิเคราะห์เอกสาร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสัมภาษณ์ชนิดกึ่งโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่าองค์ประกอบของแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง 4 ภาค แบ่งออกเป็น 2 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) ด้านแพลตฟอร์มในการนำเสนอ ประกอบด้วย 11 องค์ประกอบย่อย คือ 1) หน้าเข้าสู่ระบบ 2) หน้าลงทะเบียน 3) หน้าเมนูหลัก 4) หน้าเข้าสู่แบบทดสอบก่อนเรียน 5) หน้าแบบทดสอบก่อนเรียน 6) หน้าสรุปผลคะแนนแบบทดสอบก่อนเรียน 7) หน้าบทเรียนการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง 4 ภาค 8) หน้าเข้าสู่แบบทดสอบหลังเรียน  9) หน้าแบบทดสอบหลังเรียน 10) หน้าสรุปผลคะแนนแบบทดสอบหลังเรียน 11) หน้าออกจากระบบ และ 2) ด้านเนื้อหาในการนำเสนอ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบย่อย คือ 1) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2) การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง 4 ภาค 3) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้แอปพลิเคชันการสอนบนสมาร์ทโฟน รายวิชานาฏศิลป์ เรื่องนาฏศิลป์พื้นเมือง 4 ภาค สาขาวิชาศิลปศึกษา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Article Details

How to Cite
กองจินดา ช., จีนพงษ์ ส., & ประดับเวทย์ ร. . (2023). แนวทางการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง 4 ภาค: APPROACHES FOR THE DEVELOPMENT OF LEARNING MATERIALS FOR APPLICATIONS ON SMARTPHONES IN THE SUBJECT OF THAI-FOLK DANCE. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18(2), 28–44. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/15363
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

เขมณัฏฐ์ มิ่งศิริธรรม. (2559). การออกแบบสื่อการศึกษาสร้างสรรค์ Creative Educational Media Design (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ทิศนา แขมมณี. (2558). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 19). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นรรัชต์ ฝันเชียร. (2563) มารู้จักหลักการสอน 9 ขั้นของกาเย่ (Gagne). สืบค้นจาก https://shorturl.asia/o32vM

ฤทธิชัย อ่อนมิ่ง. (2547) การออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย. (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค. (2564). สำรวจผลกระทบหลัง COVID-19 จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของการศึกษาโลก. สืบค้นจาก https://workpointtoday.com/education-covid-19-4/

วิทยา วาโย, อภิรดี เจริญนุกูล, ฉัตรสุดา กานกายันต์, และ จรรยา คนใหญ่. (2563, พฤษภาคม - สิงหาคม). การเรียนการสอน แบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19: แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 14(34), 287. สืบค้นจาก https://shorturl.asia/YJcb3

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด. (2564). อุปกรณ์ไม่พร้อม เวลาไม่มี รูปแบบไม่ได้ อุปสรรคเรียนออนไลน์ ยุคโควิดระบาด ที่ต้องเร่งแก้ไข. สืบค้นจาก https://brandinside.asia/e-learning-challenge-in-covid/

สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2553). ดนตรีไทยมาจากไหน?. นครปฐม: วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2541). คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อรรถโกวิท จิตจักร. (2559). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของกาเย่เสริมด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์เบื้องต้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.

Most read articles by the same author(s)