การประเมินหลักสูตรวิชาเอกคณิตศาสตร์-วิศวกรรม โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) THE EVALUATION OF CURRICULUM FOR MATHEMATICS ENGINEERING MAJOR OF SRINAKHARINWIROT UNIVERSITY PRASARNMIT DEMONSTRATION SCHOOL (SECONDARY)

Main Article Content

สุธินันท์ บุญพัฒนาภรณ์

Abstract

    การประเมินหลักสูตรวิชาเอกคณิตศาสตร์-วิศวกรรม โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ ประเมินหลักสูตรวิชาเอกคณิตศาสตร์-วิศวกรรม โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) ใน 4 ด้าน คือ 1) ด้านบริบท 2) ด้านปัจจัยนำเข้า 3) ด้านกระบวนการ และ 4) ด้านผลผลิต โดยผู้วิจัยใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Model กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยผู้บริหารและครูจำนวน 10 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 25 คน และศิษยเก่า จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (x) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านบริบท ภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก โดยอาจเพิ่มรายวิชาที่ส่งเสริมความถนัดทางด้านวิศวกรรมในหลากหลายสาขาตามความสนใจของนักเรียน และอาจเพิ่มรายวิชาในภาคปฏิบัติให้มากขึ้น 2) ด้านปัจจัยนำเข้า ภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก สภาพห้องเรียนและสิ่งอำนวยความสะดวก เหมาะสม แต่อาจยังมีห้องเรียนยังไม่เพียงพอ สำหรับทำโครงงานและการจัดสัมมนา ในส่วนของสื่อการสอนอาจเพิ่มซอฟแวร์ที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณทางด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม 3) ด้านกระบวนการ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก การจัดการเรียนรู้มีความเหมาะสม โดยอาจเพิ่มเติมโดยให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้นักเรียนได้เห็นถึงประโยชน์ที่จะนำไปใช้ในชีวิตประจำวันยิ่งขึ้น 4) ด้านผลผลิต โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก คือ มีความรู้ความเข้าใจเนื้อหาที่เรียนในหลักสูตร มีความสามารถในการทำโครงงาน และมีคุณธรรม เจตคติ และมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์

Article Details

How to Cite
บุญพัฒนาภรณ์ ส. . (2023). การประเมินหลักสูตรวิชาเอกคณิตศาสตร์-วิศวกรรม โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม): THE EVALUATION OF CURRICULUM FOR MATHEMATICS ENGINEERING MAJOR OF SRINAKHARINWIROT UNIVERSITY PRASARNMIT DEMONSTRATION SCHOOL (SECONDARY). วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18(2), 114–125. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/15254
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). พัฒนาการหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของไทย. กรุงเทพฯ: มปท.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2559). การพัฒนาหลักสูตร: ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: วีพรินท์.

นารี อุไรรักษ์; พัชนี กุลฑานันท์; และ เบญจพร วรรณูปถัมภ์. (2562, มกราคม - มิถุนายน). การประเมินการใช้หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 11(1): 59-82.

มนัส จันทร์พวง. (2549). การประเมินหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนสิรินทรราชวิทยาลัย จังหวัดนครปฐม โดยใช้แนวคิด BALANCED SCORECARD (BSC). (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

มารุต พัฒผล. (2556). การประเมินหลักสูตรเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2555). การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

วิจารณ์ พาณิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

สมเกียรติ อินทสิงห์. (2554). การประเมินหลักสูตรคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

สมทรง สุภาพ. (2565, มกราคม - เมษายน). รูปแบบเพื่อประเมินหลักสูตรในศตวรรษที่ 21 ซึ่งพัฒนาจากรูปแบบการประเมิน CIPP Model. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 33(1). 1 - 14

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). การศึกษาแนวโน้มความต้องการแรงงานของตลาดแรงงานในประเทศไทย ช่วงปี 2560 - 2564. กรุงเทพฯ: สำนักสถิติพยากรณ์.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2553). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2550. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สุภา นิลพงษ์. (2554). การประเมินหลักสูตรโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ พุทธศักราช 2552 (ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.