ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรมการส่งเสริมและพัฒนากรอบความคิดแบบเติบโตและการคิดเชิงบริหารที่มีต่อพัฒนาการของคะแนนภาษาอังกฤษของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 EFFECTS OF GROWTH MINDSET AND EXECUTIVE FUNCTION INNOVATIONS ON MATTHAYOMSUKSA 3 STUDENTS’ IMPROVEMENT OF ENGLISH SCORES

Main Article Content

ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์
อิศรา ศานติศาสน์
วิวัฒน์ คติธรรมนิตย์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาอิทธิพลของภูมิหลังต่าง ๆ อาทิ ลำดับเกิด บุคคลต้นแบบ เศรษฐกิจของครอบครัว สังคมและวัฒนธรรมที่อยู่แวดล้อม ต่อพัฒนาการของคะแนนภาษาอังกฤษของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3  2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบพัฒนาการของคะแนนภาษาอังกฤษของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับและไม่ได้รับนวัตกรรมการส่งเสริมและพัฒนากรอบความคิดแบบเติบโตและนวัตกรรมการส่งเสริมและพัฒนาการคิดเชิงบริหาร โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 2,082 คน จากโรงเรียน 26 แห่ง ในเขตกรุงเทพมหานครและบริมณฑล 6 จังหวัด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบประเมินทักษะด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษ 2) เครื่องมือในการพัฒนา ซึ่งประกอบด้วยสื่อการเรียนรู้เพื่อพัฒนากรอบความคิดแบบเติบโต เครื่องมือพัฒนาการคิดเชิงบริหาร และเครื่องมือพัฒนาคลังคำศัพท์ภาษาอังกฤษ งานวิจัยใช้แบบแผนการทดลองเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของพัฒนาการของคะแนนภาษาอังกฤษของกลุ่มตัวอย่าง 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มควบคุม 2) กลุ่มที่ได้รับนวัตกรรมการส่งเสริมและพัฒนากรอบความคิดแบบเติบโต 3) กลุ่มที่ได้รับนวัตกรรมการส่งเสริมและพัฒนาการคิดเชิงบริหาร และ 4) กลุ่มที่ได้รับทั้งนวัตกรรมการส่งเสริมและพัฒนากรอบความคิดแบบเติบโตและนวัตกรรมการส่งเสริมและพัฒนาการคิดเชิงบริหาร ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มที่ได้รับนวัตกรรมการส่งเสริมและพัฒนาการคิดเชิงบริหารมีพัฒนาการของคะแนนภาษาอังกฤษสูงสุด โดยมีคะแนนมากกว่ากลุ่มอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตามด้วยกลุ่มควบคุม กลุ่มที่ได้รับนวัตกรรมการส่งเสริมและพัฒนากรอบความคิดแบบเติบโต และกลุ่มที่ได้รับทั้งนวัตกรรมการส่งเสริมและพัฒนากรอบความคิดแบบเติบโต และนวัตกรรมการส่งเสริมและพัฒนาการคิดเชิงบริหาร ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
เจริญเศรษฐศิลป์ ธ., ศานติศาสน์ อ., & คติธรรมนิตย์ ว. (2023). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรมการส่งเสริมและพัฒนากรอบความคิดแบบเติบโตและการคิดเชิงบริหารที่มีต่อพัฒนาการของคะแนนภาษาอังกฤษของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 : EFFECTS OF GROWTH MINDSET AND EXECUTIVE FUNCTION INNOVATIONS ON MATTHAYOMSUKSA 3 STUDENTS’ IMPROVEMENT OF ENGLISH SCORES. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 17(2), 93–104. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/14957
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

Barkley, R. A. (2012). Executive Functions: What They are, How They Work, and Why They Evolved. New York: The Guilford Press.

Dawson, P., & Guare, R. (2018). Executive Skills in Children and Adolescents: A Practical Guide to Assessment and Intervention (3rd ed.). New York: The Guilford Press.

Dweck, C.S. (2006). Mindset: The New Psychology of Success. New York: Random House Publishing Group.

EF Education First. (2020). EF EPI EF English Proficiency Index: A Ranking of 100 Countries and Regions by English Skills. https://www.ef.co.th/epi/ETS. (2021). 2020 Report on Test Takers Worldwide. https://www.ets.org/s/toeic/pdf/2020-report-on-test-takers-worldwide.pdf

Esparza, J., Shumow, L., & Schmidt, J. A. (2014). Growth mindset of gifted seventh grade students in science.NCSSSMST Journal, 19(1), 6-12.

Haimovitz, K., Wormington, S. V., & Corpus, J. H. (2011). Dangerous mindsets: How beliefs about intelligence predict motivational change.Learning and Individual Differences, 21(6), 747–752.

Yeager, et al. (2019). A national experiment reveals where a growth mindset improves achievement. Nature. 573, 364–369

กรกนก คําโกน. (2560). ผลการใช้โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพโดยใช้กรอบความคิดแบบเติบโตร่วมกับรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ที่มีต่อความสุขของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชนิดา รุ่งเรือง และ เสรี ชัดแข้ม. (2559). กรอบความคิดเติบโต: แนวทางใหม่แห่งการพัฒนาศักยภาพมนุษย์. วิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา, 14(1), 1-13.

นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล, นุชนาฏ รักษี, ปนัดดา ธนเศรษฐกร และอรพินท์ เลิศอวัสดาตระกูล. (2560). การพัฒนาและหาค่าเกณฑ์มาตรฐานเครื่องมือประเมินการคิดเชิงบริหารในเด็กปฐมวัย (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล, มหาวิทยาลัยมหิดล.