การศึกษาผลการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาชายขอบ โรงเรียนแม่กุวิทยาคม A STUDY OF THE DEVELOPMENT OF THE MARGINALIZED SCHOOL ADMINISTRATION OF MAEKU WITTAYAKHOM SCHOOL

Main Article Content

ลาวัลย์ เกติมา

Abstract

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินผลการทดลองใช้การพัฒนาการบริหารสถานศึกษาชายขอบ โรงเรียนแม่กุวิทยาคม   2) เพื่อประเมินการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาชายขอบ โรงเรียนแม่กุวิทยาคม โดยใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาชายขอบ โรงเรียนแม่กุวิทยาคม ที่มีชื่อเรียกว่า DOKCARES Administrative Model ดำเนินการพัฒนาตามกระบวนการของการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ในลักษณะของการผสมผสานวิธี (Mixed Methods) แหล่งข้อมูล ประกอบด้วย คณะกรรมการผู้ประเมินภายในสถานศึกษา จำนวน 5 คน คณะกรรมการผู้ประเมินภายนอกสถานศึกษา จำนวน 5 คน  โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) ครู และบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 36 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) นักเรียน จำนวน 260 คน มีวิธีการคำนวณหากลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการของ Taro Yamane คณะกรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 273 คน มีวิธีการคำนวณหากลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการของ Taro Yamane รวมจำนวน 579 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์การบริหารสถานศึกษาชายขอบ DOKCARES Administrative Model เป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ รวม 8 ฉบับ เก็บรวบรวมข้อมูลจากครูและบุคลากรทางการศึกษา แบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน แบบบันทึกคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน รายงานผลงานจากการบริหารสถานศึกษาชายขอบ โรงเรียนแม่กุวิทยาคม แบบประเมินการบริหารสถานศึกษาชายขอบ โรงเรียนแม่กุวิทยาคม โดยการประเมินภายในและภายนอก เป็นแบบวัดชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสอบถามปลายเปิด เก็บรวบรวมข้อมูลจากคณะกรรมการผู้ประเมินภายในและภายนอกสถานศึกษา และแบบสอบถามความพึงพอใจเกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษาชายขอบ โรงเรียนแม่กุวิทยาคม เป็นแบบวัดชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ เก็บรวบรวมข้อมูลจากครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครองนักเรียน สถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การสร้างข้อสรุปจากการวิเคราะห์เนื้อหา สถิติบรรยาย  ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการทดลองใช้การพัฒนาการบริหารสถานศึกษาชายขอบ โรงเรียนแม่กุวิทยาคม พบว่า ครูและบุคลากรทางการศึกษามีการสร้างความเข้าใจร่วมกันเกิดเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน มุ่งเน้นการสร้าง พัฒนาและใช้นวัตกรรม สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ลงมือปฏิบัติตามความถนัดและความสามารถ ร่วมมือร่วมใจ ทบทวนกระบวนการดำเนินงาน ติดตามประเมินผล และมีการพัฒนาต่อยอดความสำเร็จสู่ความยั่งยืน ในภาพรวมผลการดำเนินการบริหารสถานศึกษาชายขอบ อยู่ในระดับดีมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีระดับการดำเนินการมากที่สุด คือ ด้าน O : Organizational Innovation Management การบริหารจัดการที่มุ่งเน้น การส่งเสริมให้ทุกคนในองค์กรมีการสร้าง พัฒนาและใช้นวัตกรรม มีระดับการดำเนินการดีมาก นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระดับดีขึ้นไปเพิ่มขึ้น มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ระดับดีขึ้นไปของนักเรียนสูงกว่าร้อยละ 90 โรงเรียนได้รับรางวัลจากการบริหารสถานศึกษาชายขอบ และครูมีการดำเนินการสร้าง พัฒนา และใช้นวัตกรรม 2. ผลการประเมินการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาชายขอบ โรงเรียนแม่กุวิทยาคม โดยการประเมินภายในการบริหารสถานศึกษาชายขอบ โรงเรียนแม่กุวิทยาคม พบว่า ในภาพรวมมีคุณภาพในระดับมาก การประเมินภายนอกการบริหารสถานศึกษาชายขอบ โรงเรียนแม่กุวิทยาคม พบว่า ในภาพรวมมีคุณภาพในระดับมากที่สุด การประเมินความพึงพอใจจากครูและบุคลากรทางการศึกษา จากนักเรียน และจากคณะกรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครองนักเรียน พบว่า ในภาพรวมมีความพึงพอใจในระดับมาก และการบริหารสถานศึกษาชายขอบ โรงเรียนแม่กุวิทยาคม มีประโยชน์และมีความเป็นไปได้ในการสามารถนำไปเป็นแบบอย่างหรือใช้ในการบริหารสถานศึกษาอื่น ๆ ได้

Article Details

How to Cite
เกติมา ล. (2023). การศึกษาผลการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาชายขอบ โรงเรียนแม่กุวิทยาคม: A STUDY OF THE DEVELOPMENT OF THE MARGINALIZED SCHOOL ADMINISTRATION OF MAEKU WITTAYAKHOM SCHOOL. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 17(2), 61–81. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/14955
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

ชนินทร์ แสงแก้ว. (2546). การบริหารงานตามมาตรฐานโรงเรียนสังกัดสํานักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2541 ด้วยวัฏจักรคุณภาพของเดมมิ่งในโรงเรียนสังกัดสํานักงานการประถมศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ทินกร พูลพุฒ. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตากเขต 2: กรณีศึกษาอําเภออุ้มผาง. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 12(1) (มกราคม-เมษายน 2560), 105-117.

ธงชัย สมบูรณ์. (2559, 16 เมษายน). การศึกษาไทย ลมหายใจของคนชายขอบ. สืบค้นจาก http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1429207588&grpid=03&catid=02

เพ็ญแข แสงแก้ว. (2540). การวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ภาควิชาคณิตศาสตร์และสถิติ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2552). การวิจัยพัฒนารูปแบบ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 2(4): 1-15.

ศรีรักษ์ ผลิพัฒน์. (2548). สิทธิในการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd Ed). New York: Harper and Row.