การศึกษาองค์ประกอบ สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของระบบการส่งเสริมศักยภาพที่มีประสิทธิผลสำหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสุโขทัย A STUDY OF THE COMPOSITION, CURRENT CONDITIONS,DESIRABLE CONDITIONS AND NECESSITTIES OF AN EFFECTIVE CAPACITY BUILDING SYSTEM FOR LEARNERS WITH DISABILITIES. INTELLECTUALLY, SUKHOTHAI PROVINCIAL SPECIAL EDUCATION CENTER

Main Article Content

บุรินทร์ สารีคำ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ  1) ศึกษาองค์ประกอบของระบบการส่งเสริมศักยภาพที่มีประสิทธิผลสำหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสุโขทัย 2) ศึกษา สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของระบบการส่งเสริมศักยภาพที่มีประสิทธิผล สำหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสุโขทัย กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 20 คน ประกอบด้วย ครู บุคลากร 10 คน และผู้ปกครองผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา 10 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามซึ่งมีค่าความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) มีค่าเท่ากับ 1.00  ทุกข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ (% )ค่าเฉลี่ยเลขคณิต( ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( )และดัชนีความสำคัญของความต้องการจำเป็น (Modified Priority Need Index :PNImodified) ผลการวิจัย พบว่า  1) องค์ประกอบของระบบการส่งเสริมศักยภาพที่มีประสิทธิผลสำหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสุโขทัย ประกอบด้วย ด้านปัจจัยนำเข้ามี  4 องค์ประกอบ ด้านกระบวนการ มี 7องค์ประกอบ ด้าน ผลผลิต มี 2 องค์ประกอบ ด้านผลลัพธ์ มี 3 องค์ประกอบ และด้านข้อมูลป้อนกลับ มี 2 องค์ประกอบ 2) ระบบการส่งเสริมศักยภาพที่มีประสิทธิผลสำหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา  ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสุโขทัย  ค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็น สภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง ( = 2.58, =0.67)  สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.49, =0.62) และลำดับดัชนีความต้องการจำเป็นของระบบการส่งเสริมศักยภาพที่มีประสิทธิผลสำหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสุโขทัยด้านที่มากที่สุด คือด้านผลผลิต (PNImodified =0.79) และด้านที่น้อยที่สุดคือ ด้านปัจจัยนำเข้า (PNImodified =0.70)

Article Details

How to Cite
สารีคำ บ. (2023). การศึกษาองค์ประกอบ สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของระบบการส่งเสริมศักยภาพที่มีประสิทธิผลสำหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสุโขทัย: A STUDY OF THE COMPOSITION, CURRENT CONDITIONS,DESIRABLE CONDITIONS AND NECESSITTIES OF AN EFFECTIVE CAPACITY BUILDING SYSTEM FOR LEARNERS WITH DISABILITIES. INTELLECTUALLY, SUKHOTHAI PROVINCIAL SPECIAL EDUCATION CENTER. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 17(2), 44–60. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/14954
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กาญจนา วิเศษรินทอง. (2555). การพัฒนาระบบการบริหารจัดการชั้นเรียนสําหรับโรงเรียนขยาย โอกาสทางการศึกษา. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.มหาสารคาม.

ทรงสิริ วิชิรานนท์, อรุณี อรุณเรือง. (2559). การประเมินความต้องการจําเป็นในการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.กรุงเทพฯ.

พรพรรณ์ สมบูรณ์. (2552). รูปแบบการบริการการเปลี่ยนผ่าน จากโรงเรียนเรียนร่วมสู่การทํางานของนักเรียนพิการระดับมัธยมศึกษา.วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ.

สุวรรณ บัวพันธ์. (2564). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมศักยภาพเด็กพิการที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา โดยใช้แนวคิดของวอร์ลดอฟ ศูนย์การศึกษาพิเศษประจําจังหวัดสุรินทร์.ผลงานเพื่อประกอบการขอหรือเลื่อนวิทยฐานะเชี่ยวชาญ. สํานักบริหารงานการศึกษาพิเศษ.

สุจิตรพร สีฝั้น . (2550). การ พัฒนาแบบการให้บริการในระยะเชื่อมต่อเฉพาะบุคคล สําหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษจากระบบการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มเข้าสู่ระบบโรงเรียน.วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.

สุภาวดี วิสุวรรณ และคณะ. (2560). การส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน : กรณีศึกษาตําบลหินดาด อําเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา.คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. นครราชสีมา.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2542). การสังเคราะห์เทคนิคที่ใช้ในการประเมินความต้องการจําเป็นในนิสิตคณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.ภาควิชาวิจัยการศึกษาคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.กรุงเทพฯ.

สํานักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2562). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ.

สํานักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2564). การจัดการศึกษาสําหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา.กรุงเทพฯ.

สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุก.นนทบุรี : บริษัท 21เซ็นจูรี่ จํากัด.

สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). การติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาเรียนรวมสําหรับเด็กพิการและเด็กที่มีความต้องการจําเป็นพิเศษ.นนทบุรี : บริษัท 21เซ็นจูรี่ จํากัด.

อัญมณี บูรณากานนท์; และคณะ. (2552). การศึกษาวิจัยการพัฒนาระบบการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชนในประเทศไทย. คณะสังคมสงเคราะห์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: บริษัท ออน อาร์ต ครีเอชั่น จํากัด.

Forlin, C., Douglas, G. & Hattie, J. (1996). Inclusive practices: How accepting are teaching.

Jeannette Sanchez. (2010). Decent Work for People with Disabilities.

Kanfer and Gaelick. (1986). Self-mana gement methods. New York: Pergamon Press.

Kohler, P. D. (1996). Taxonomy for Transition Programming: Linking Ressearch to Practice. Champaign: Transition Research Institute, University of Illinois.

Lunenburg, F. C. and A. C. Ornstein. (1996). Educational Adminisstration: Concepts and Practices. 2nded. Belmont, CA: Wadsworth Publishing.