แนวทางการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่

Authors

  • มนต์นภัส มโนการณ์
  • สุบัน พรเวียง

Keywords:

มาตรฐานการศึกษา  , สถานศึกษานำร่อง  , พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาของการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษานำร่อง  2) ถอดบทเรียนการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษานำร่องที่มีวิธีปฏิบัติที่ดี และ 3) พัฒนาแนวทางการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษานำร่อง จำนวน 46 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสังเคราะห์เอกสาร การประชุมเชิงปฏิบัติการ การถอดบทเรียนการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปว่า 1) สภาพและปัญหาการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษานำร่อง  สถานศึกษาทุกแห่งมีการกำหนดมาตรฐานการศึกษา แต่ยังไม่ได้นำมาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561 มาร่วมกำหนดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของผู้เรียน มีความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับการติดตาม ตรวจสอบและประเมินของหน่วยงานต้นสังกัดและคณะกรรมการขับเคลื่อน 2) การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษานำร่องที่มีวิธีปฏิบัติที่ดี กระบวนการกำหนดมาตรฐานส่วนใหญ่ใช้วงจรคุณภาพ มาตรฐานการศึกษามีสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ เอกลักษณ์และอัตลักษณ์ มีประเด็นการพิจารณา และค่าเป้าหมายความสำเร็จชัดเจน เงื่อนไขความสำเร็จคือผู้บริหารสถานศึกษาและครูมีชุดความคิดเติบโต พัฒนาสถานศึกษาอย่างต่อเนื่องและมีภาคีเครือข่ายร่วมพัฒนา3) แนวทางการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย 1) กรอบแนวคิดหลัก 2) กระบวนการกำหนดมาตรฐานการศึกษาด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ และ3) บทบาท หน้าที่ของคณะกรรมการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผลการตรวจสอบแนวทางฯ มีความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมาก

Downloads

Published

2023-09-08

How to Cite

มโนการณ์ ม., & พรเวียง ส. (2023). แนวทางการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 16(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/14178