สภาพปัญหาการจัดการเรียนร่วมตามมาตรฐานการศึกษาพิเศษ กลุ่มโรงเรียนสาธิต ในเขตกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาและเปรียบเทียบสภาพปัญหาการจัดการเรียนร่วมตามมาตรฐานการศึกษาพิเศษโรงเรียนสาธิต ในเขตกรุงเทพมหานคร ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครูผู้สอน ระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนสาธิตในเขตกรุงเทพมหานคร ได้มาโดยเปิดตารางสำเร็จรูปของ Krejcie and Morgan แล้วสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ อย่างเป็นสัดส่วน (Proportional stratified random sampling) ได้กลุ่มตัวอย่าง 248 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับ สภาพปัญหาการจัดการเรียนร่วมตามมาตรฐานการศึกษาพิเศษ กลุ่มโรงเรียนสาธิต ในเขตกรุงเทพมหานคร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย () ส่วนค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาการจัดการเรียนร่วมอยู่ในระดับมาก 2) ครูที่มีประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน มีสภาพปัญหา ด้านคุณภาพผู้เรียน และด้านการจัดเรียนการสอน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ครูที่มีวุฒิการศึกษาต่างกันมีสภาพปัญหา โดยภาพรวม และรายด้านทุกด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) สภาพปัญหาการจัดการเรียนร่วมตามมาตรฐานการศึกษาพิเศษ ของครูกลุ่มโรงเรียนสาธิต ในเขตกรุงเทพมหานคร ที่มีกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างกัน มีสภาพปัญหา โดยภาพรวม และรายด้าน ด้านคุณภาพผู้เรียน ด้านการจัดเรียนการสอน ด้านการบริหารจัดการเรียนร่วม และด้านการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คำสำคัญ: สภาพปัญหา; การจัดการเรียนร่วม; มาตรฐานการศึกษาพิเศษ; โรงเรียนสาธิต ABSTRACT The purposes of this research were to study and to compare the problem statement of inclusive education management according to special education standards of demonstration school in Bangkok classified by using working experience, educational background, and learning areas. Total population was 715 and 248 samples were selected by Krejcie and Morgan Table criteria. Questionnaire consisted of 4 aspects of the standard of learners’ quality, standard of instruction, standard of inclusive education management and standard of learning society building is the tool for data collection. Mean, Standard Deviation, t-test, and One-way ANOVA were the statistical employed. The findings were follows: 1) The problem statement of inclusive education management according to special education standards of demonstration school cluster in Bangkok in the whole perspective and in each aspects are at high level. 2) The whole perspective of problem statement of inclusive education management according to special education standards in the aspects of inclusive education management and learning society building, while the other two aspects are statistically significant difference at the .05 level. 3) The result of comparison of teachers who had different educational background found that there is no statistically significant difference at the .05 level in all aspects problem statements. 4) For the aspect of learning areas, there is no statistically significant difference at the .05 level. Keywords: Problem Inclusive; Education Management; Special Education; Standards Demonstration School
Article Details
How to Cite
ประสิทธิธัญกิจ พ. (2023). สภาพปัญหาการจัดการเรียนร่วมตามมาตรฐานการศึกษาพิเศษ กลุ่มโรงเรียนสาธิต ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 16(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/13806
Section
บทความวิจัย (Research Articles)