วัจนกรรมคำลงท้ายในภาษาถิ่นเหนือตามปัจจัยทางเพศ
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิจัยเรื่อง เพศ อายุกับการแปรคำลงท้ายในภาษาคำเมืองและภาษาไทใหญ่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบวัจกรรมคำลงท้ายในภาษาคำเมือง จากปัจจัยทางสังคมด้านเพศ ซึ่งวิเคราะห์ตามแนวคิดทฤษฎีวัจนปฏิบัติศาสตร์ และการวิเคราะห์วัจนกรรมตามเจตนาการสื่อสาร[1] ผลการวิจัยพบ วัจนกรรมคำลงท้ายในภาษาคำเมือง 4 กลุ่ม ได้แก่ (1) วัจนกรรมบอกกล่าว ร้อยละ 30.18 (2) วัจนกรรมแสดงความรู้สึก ร้อยละ 25.84 (3) วัจนกรรมชี้นำ ร้อยละ 23.40 และ (4) วัจนกรรมผูกมัด ร้อยละ 20.58 ตามลำดับ เพศมีผลต่อวัจนกรรมการแปร คำลงท้ายของภาษาคำเมือง กล่าวคือ เพศหญิงปรากฏวัจนกรรมบอกกล่าว ร้อยละ 34.68 วัจนกรรมแสดงความรู้สึก ร้อยละ 29.30 วัจนกรรมผูกมัด ร้อยละ 19.91 และวัจนกรรมชี้นำ ร้อยละ 16.11 ตามลำดับ ส่วนเพศชายพบ วัจนกรรมการชี้นำ ร้อยละ 31.37 วัจนกรรมบอกกล่าว ร้อยละ 25.25 วัจนกรรมแสดงความรู้สึก ร้อยละ 22.06 และวัจนกรรมผูกมัด ร้อยละ 21.32 ตามลำดับ เพศหญิงจะเลือกใช้คำลงท้ายได้เหมาะสมกับความสัมพันธ์ระหว่างผู้พูดกับผู้ฟังมากกว่าเพศชาย นอกจากนี้พบว่าการเลือกใช้คำลงท้ายของเพศหญิงและเพศชายมีผลต่อการแปรคำลงท้ายภาษาคำเมือง โดยการเลือกใช้คำลงท้ายของเพศหญิงและเพศชายอาจทำให้เจตนาในการสื่อสารมีความแตกต่างกัน และคำลงท้ายหนึ่งคำสามารถสื่อวัจนกรรมได้มากกว่าหนึ่งวัจนกรรม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเจตนาและสถานการณ์ของผู้พูดเป็นปัจจัยสำคัญ คำสำคัญ: วัจนกรรม; การแปร; คำลงท้าย; ภาษาถิ่นเหนือ ABSTRACT This article is a part of a dissertation “Genders and ages affected on the final particle variation of Kham Muang and Tai Yai language”. The objective aims to compare the speech acts of final particles in Kham Muang language which was influenced from social factors about gender. The concepts of analysis are Pragmatics and Speech acts. The result of the study shows that the final particle of Kham Muang language is divided into 4 groups; 1) Representative (30.8%), 2) Expressive (25.84%), (3) Directive (23.40%), and (4) Commissive (20.58 %) respectively. Gender has an influence on Kham Muang final particle speech act. For Female, Representative is most found (34.68%), Expressive (29.30%), Commissive (19.91%), and Directive (16.11%), respectively. For Male, Directive is most found (31.37%), Representative (25.25%), Expressive (22.06%), and Commissive (21.32%), respectively. From a result, it showed that Female use the final particles more appropriated than Male. Therefore, the selection of final particles affected the variation of meaning of communication since each final particle has been interpreted more than one speech acts depending on purpose and situation of the speaker. Keywords: Speech Act; Variation; Final Particles; Northern Dialect
Article Details
How to Cite
มูลปินใจ น., ใจมโน ข., พาณิช ฤ., & พลมณี ศ. (2021). วัจนกรรมคำลงท้ายในภาษาถิ่นเหนือตามปัจจัยทางเพศ. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 16(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/13804
Section
บทความวิจัย (Research Articles)