การสำรวจนวัตกรรมการเรียนการสอนที่เป็นเลิศเพื่อการเปลี่ยนแปลงกระบวนการเรียนรู้ของบุคลากรที่สอนด้านสาธารณสุขของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย

Main Article Content

อรฤทัย อับดุลหละ
สุปรีชา แก้วสวัสดิ์
พัฒนศักดิ์ คำมณีจันทร์
เพียงจันทร์ เศวตศรีสกุล
คู ง็อค ลีย์ ง็อค ลีย์

Abstract

บทคัดย่อ การสำรวจนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนที่เป็นเลิศเพื่อการเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ของบุคลากรที่สอนด้านสาธารณสุขครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาบุคลากรที่สอนด้านสาธารณสุขในสถานศึกษาที่มีนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนด้านสาธารณสุขเพื่อให้เกิดความเป็นเลิศทั่วประเทศ ประชากรที่ศึกษาเป็นผู้สอนกลุ่มวิชาชีพสาธารณสุขที่สอนของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ระหว่างปีการศึกษา 2555 – 2559 จำนวน 850  คน ตอบแบบสอบถามออนไลน์ผ่านเวบไซด์ www.best4trans.com  จำนวน 15 ข้อ  และคัดเลือกผู้ที่ตอบแบบสอบออนไลน์ที่มีรูปการเรียนการสอน จำนวน 10 ราย เพื่อสัมภาษณ์เชิงลึก เก็บข้อมูลระหว่าง เมษายน-ตุลาคม 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยแบบสอบถามออนไลน์ที่ตอบด้วยตนเองและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก นำเสนอข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาประกอบด้วย ความถี่ ค่าเฉลี่ย เลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์เนื้อหา ความเชื่อมโยงตามกรอบที่ผู้วิจัยกำหนดผลการศึกษาการค้นหาบุคลากรในมหาวิทยาลัยที่จัดการเรียนการสอนด้านสาธารณสุขทั่วประเทศ ที่มีคะแนนการจัดการเรียนการสอนคะแนนเต็ม 10 พบว่า บุคลากรมีคะแนนเฉลี่ยการจัดการเรียนการสอนภาพรวม 8.10 (SD = 0.78) สามารถสร้างให้บัณฑิตมีความสามารถในการทำงานเป็นทีม คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 8.74 (SD = 0.91) รองลงมาคือการเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 8.64 (SD = 1.27) ส่วนการสร้างให้บัณฑิตสามารถทำวิจัยเชิงประจักษ์มีคะแนนน้อยที่สุด คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 6.67 (SD = 2.20) ส่วนการค้นหาวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง พบว่า มีการสอนในรูปแบบการใช้นวัตกรรมร่วมสอน (Kahoot) การสอนแบบ class based (บทบาทสมมติ) และการสอนแบบการใช้ชุมชนเป็นฐาน การศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า การจัดรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบันควรมีความหลากหลายตลอดทั้งการนำเทคโนโลยีมาใช้ในชั้นเรียนจะทำให้พัฒนานักศึกษาได้มากขึ้น   คำสำคัญ: บุคลากรด้านสาธารณสุขศาสตร์; การเปลี่ยนแปลงกระบวนการเรียนรู้; นวัตกรรมการเรียนการสอนที่เป็นเลิศ ABSTRACT A survey of the best teaching learning innovation for transformation learning processes among university public health instructors aimed to find the instructors teaching public health in educational institutions who have innovative public health teaching and learning to achieve excellence nationwide. The studied population was 850 public health professional instructors teaching at a university in Thailand during the academic year 2012 - 2016. They had to answer an online questionnaire via www.best4trans.com numbering 15 items after they were selected to be the sample for in 2nd step, found that only 10 instructors have the best teaching-learning innovation for transformation learning processes. They were interviewed by in-depth interview technique about their teaching process. The interview process was conducted between April-October 2017. The studied instrument consisted of an online self-administered and in-depth interview. The descriptive statistics consisted of frequency, mean, standard deviation, and qualitative data by content analysis technique. The results of seeking the instructors having the best teaching –learning innovation in public health institutions, Thailand who had teaching results at a full 10 scores, found that the whole of mean score was 8.10 (SD =0.78), creating the most talented graduates was team work (mean 8.74 (SD = 0.91), respecting for the dignity of humanity (mean 8.64, SD =1.27), creating of graduates to perform empirical research had the lowest score (mean 6.67, SD = 2.09), and creating new knowledge (mean 7.21, SD = 2.20). Regarding finding the best teaching-learning innovation for transformative learning processes, the instructors used innovation, collaborative teaching with cooperative learning (Kahoot), class-based teaching (role-playing), and community-based teaching. This study recommended that the teaching and learning styles to lead to a transformation in the modern era should be diverse and use technology in the classroom to improve the student's development. Keywords: Public Health Professional Instructors; Transformative Learning Process; Best Teaching-Learning Innovation

Article Details

How to Cite
อับดุลหละ อ., แก้วสวัสดิ์ ส., คำมณีจันทร์ พ., เศวตศรีสกุล เ., & ลีย์ ค. ง. ล. ง. (2021). การสำรวจนวัตกรรมการเรียนการสอนที่เป็นเลิศเพื่อการเปลี่ยนแปลงกระบวนการเรียนรู้ของบุคลากรที่สอนด้านสาธารณสุขของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 16(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/13801
Section
บทความวิจัย (Research Articles)