สัมพันธภาพในครอบครัว ความฉลาดทางจริยธรรม การเผชิญความเครียด และความผาสุกทางใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ในเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานี
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับสัมพันธภาพในครอบครัว ระดับความฉลาดทางจริยธรรม ระดับการเผชิญความเครียด และระดับความผาสุกทางใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) เปรียบเทียบความผาสุกทางใจของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสัมพันธภาพในครอบครัวกับความผาสุกทางใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางจริยธรรมกับความผาสุกทางใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และ 5) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเผชิญความเครียดและความผาสุกทางใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ในเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 363 คน จากการสุ่มตัวอย่าง โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งทดสอบคุณภาพเครื่องมือด้วยการทดสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาผลโดยเสนอต่อที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม และผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน จากนั้นนำไปทดลองใช้ แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับและรายด้าน โดยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบราช การวิจัยพบว่า 1) สัมพันธภาพในครอบครัว ความฉลาดทางจริยธรรม การเผชิญความเครียด และความผาสุกทางใจ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายอยู่ในระดับระดับค่อนข้างสูง 2) นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ การศึกษาของบิดาที่แตกต่างกัน มีความผาสุกทางใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ส่วนนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ เพศ ระดับชั้นการศึกษา แผนการเรียนเกรดเฉลี่ยสะสม ระยะเวลาที่ศึกษาในโรงเรียน ลำดับการเกิด การศึกษาของมารดา อาชีพของบิดา อาชีพของมารดา และรายได้ของครอบครัวแตกต่างกัน มีความผาสุกทางใจไม่แตกต่างกัน 3) สัมพันธภาพในครอบครัวมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผาสุกทางใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) ความฉลาดทางจริยธรรมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผาสุกทางใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 01 และ 5) การเผชิญความเครียดมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผาสุกทางใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คำสำคัญ: สัมพันธภาพในครอบครัว, ความฉลาดทางจริยธรรม, การเผชิญความเครียด, ความผาสุกทางใจ ABSTRACT The objectives of this research were: 1) to study the level of family relationship , moral quotient, coping strategies and psychological well-being of high school students, 2) to compare psychological well-being of the high school students by different personal factors, 3) to study the relationship between family relationship and psychological well-being of the high school students 4) to study the relationship between moral quotient and psychological well-being of the high school students and 5) to study the relationship between coping strategies and psychological well-being of the high school students. The samples were 363 high school students of extra large sized school at Surat Thani Province. By using the simple randomization method, data were collected by using questionnaire. which tested the quality of the equipment by testing the accuracy of the content by proposing to the thesis advisor, Co-Advisor and 3 experts Then put to try out and use the information to analyze the confidence of the questionnaires for all queries and each factor by the method of Cronbach's alpha coefficient. The data were collected by questionnaires. The results as follows: 1) family relationship , moral quotient, coping strategies and psychological well-being of high school students were at rather high level, 2) the high school students had difference in the education level of the father had different psychological well-being with the statistical significance at .05 level excepted the high school students had difference in gender, class, major, GPA, year number of study at school, birth order, the education level of the mother, father’s occupation, mother’s occupation and income of the family had not different psychological well-being 3) family relationship was positively related to psychological well-being of the high school students at the statistical significance at .01 level 4) moral quotient was positively related to psychological well-being of the high school students at the statistical significance at .01 level 5) coping strategies was positively related to psychological well-being of the high school students at the statistical significance at .01 level Keywords: Family Relationship, Moral Quotient, Coping Strategies, Psychological Well-Being
Article Details
How to Cite
จิรังนิมิตสกุล พ., & วงศ์คุ้มสิน ธ. (2020). สัมพันธภาพในครอบครัว ความฉลาดทางจริยธรรม การเผชิญความเครียด และความผาสุกทางใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ในเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 15(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/13242
Section
บทความวิจัย (Research Articles)