การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงสถิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้ 5 แนวปฏิบัติการสอน

Main Article Content

ปรียานุช ปาลี
ณัชชา กมล

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการคิดเชิงสถิติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้ 5 แนวปฏิบัติการสอน ในการออกแบบและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 45 คน เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 9 แผน บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้ แบบวัดการคิดเชิงสถิติ และวีดิทัศน์ ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน 4 ขั้นตอน คือ ขั้นวางแผน ขั้นปฏิบัติตามแผน ขั้นการสังเกตผลการปฏิบัติ และขั้นสะท้อนผลการปฏิบัติ เป็นวงจรต่อเนื่องกัน 3 วงจร โดยใช้ 5 แนวปฏิบัติการสอนที่พัฒนาขึ้นโดย Smith และ Stein (2011) ในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองผ่านงานทางคณิตศาสตร์ที่ท้าทาย พร้อมทั้งคาดการณ์แนวคิดที่เป็นไปได้ทั้งหมดของนักเรียน จากนั้นดำเนินการจัดกิจกรรมโดยเริ่มจากการติดตามตรวจสอบ การเลือก การจัดลำดับ และการเชื่อมโยงแนวคิดที่แตกต่างกันผ่านการอภิปรายร่วมกัน เพื่อให้นักเรียนเชื่อมโยงแนวคิดไปสู่จุดประสงค์หลักของบทเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละและการพรรณนาความ ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนจำนวน 24 คน มีการคิดเชิงสถิติอยู่       ในระดับ 3 คิดเป็นร้อยละ 53.33 รองลงมา คือ ระดับ 4 จำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 37.78 ตามด้วยระดับ 2 จำนวน 3 คน และ ระดับ 1 จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 6.67 และ 2.22 ตามลำดับ คำสำคัญ: 5 แนวปฏิบัติการสอน การคิดเชิงสถิติ การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน  ABSTRACT This classroom action research was to develop statistical thinking of grade 7 students using the Five Practices in designing and organizing learning activities. The target group consisted of 45 Grade 7 Students at Chiang Mai University Demonstration School. The research instruments included 9 lesson plans, post instruction reflecting notes, statistical thinking test and VDO. The research was conducted along the 4 steps of continuous 3 cycles of classroom action research composed of Plan, Act, Observe and Reflect (PAOR). The researcher applied the Five Practices which was developed by Smith and Stein (2011) to design learning activities that scaffold the students to acquire mathematical understanding by himself through the challenging mathematical tasks and also Anticipating student ideas to challenging mathematical tasks. Then Monitoring, Selecting, Sequencing and Connecting different student responses to the key objective of lesson. The data were analyzed in terms of percentage and analytical description. The findings reveal that   twenty-four students had statistical thinking at level 3, 53.33%. The seventeen students at level 4, 37.78%. Followed by level 2 of three students and level 1 of one student, which is 6.67% and 2.22% respectively. Keywords: 5 Practices, Statistical Thinking, Classroom Action Research

Article Details

How to Cite
ปาลี ป., & กมล ณ. (2020). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงสถิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้ 5 แนวปฏิบัติการสอน. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 15(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/13237
Section
บทความวิจัย (Research Articles)