การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก และเปรียบเทียบกับเกณฑ์ ร้อยละ 80 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2/2562 โรงเรียนอนุบาลชลบุรี จำนวน 1 ห้องเรียน ใช้วิธีสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยของการสุ่ม (Sampling Unit) จากห้องเรียน จำนวน 6 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ คือ แผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก และแบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ใช้แผนการทดลอง One-Group Pretest – Posttest Design ใช้เวลาทดลอง 16 คาบ คาบละ 50 นาที สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐาน โดยสถิติ t-test for dependent samples และสถิติ t-test for one sample ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ หลังได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) หลังได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกนักเรียนมีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์อยู่ในระดับดีขึ้นไป มีจำนวน 39 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด คำสำคัญ: การจัดการเรียนรู้เชิงรุก ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ABSTRACT The purpose of this research were to compare the ability in mathematical problem solving of students: before and after receiving active learning management and to compare the ability in mathematical problem solving of students with a criteria of eighty percent. The samples used in this study consisted of the prathomsuksa 5th students currently studying in the second semester of the 2019 academic year at Anubanchonburi school, was 1 classroom of 39 students chosen through Cluster Random Sampling by creating a classroom sampling unit from 6 mixed ability prathomsuksa5th classrooms. The instrument used in this experiment were active learning lesson plans and the mathematical problem solving ability test. Using the One Group Pretest - Posttest Design for the duration of the experiment lasted for 16 periods, 50 minutes per period. The statistics used in data analysis were Mean, Standard Deviation and the hypothesis testing by t-test for dependent samples and t-test for one sample statistics. The results of the research showed: 1) The mathematical problem solving ability of the students after receiving active learning management were higher at a statistical significance of .01 level. 2) The mathematical problem solving ability of prathomsuksa5th students after receiving active learning management were higher than the criterion of eighty percent, at a statistical significance of .01 level. 3) The 39 students after receiving active learning management were able to solve the mathematical problem solving to be good level 100 percent of all students. Keywords: Active Learning Management; Aathematical Problem Solving Ability
Article Details
How to Cite
สว่างอารมณ์ น., เชื้อสุวรรณทวี ช., & สุมิรัตนะ ส. (2020). การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 15(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/13229
Section
บทความวิจัย (Research Articles)