การพัฒนาตัวชี้วัดการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา A DEVELOPMENT OF DIGITAL LITERACY INDICATORS FOR SECONDARY SCHOOL STUDENTS
Main Article Content
Abstract
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและพัฒนาตัวชี้วัดการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา 2) เพื่อตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของตัวชี้วัดการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลของนักเรียนระดับมัธยมศึกษากลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1–6 ปีการศึกษา 2562 ในจังหวัดพิษณุโลก จำนวน 420 คน จาก 7 โรงเรียน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา วิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานด้วยโปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ SPSS และตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สองด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป Mplus ผลการวิจัยพบว่า 1) โมเดลการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลของนักเรียนระดับมัธยมศึกษามี 6 องค์ประกอบ 18 ตัวชี้วัด ดังนี้องค์ประกอบที่ 1 การเข้าถึงองค์ประกอบที่ 2 การจัดการองค์ประกอบที่ 3 การประเมินองค์ประกอบที่ 4 การสร้างองค์ประกอบที่ 5 การสื่อสารและองค์ประกอบที่ 6 จริยธรรมและความปลอดภัย 2) ผลตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างพบว่า ตัวชี้วัดการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาที่พัฒนาขึ้นสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์มีค่าสถิติวัดระดับความกลมกลืนดังนี้ค่าสถิติไคสแควร์เท่ากับ 119.962, df=98, p=0.0653, CFI=0.996, RMSEA=0.024 องค์ประกอบที่มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบสูงสุดคือการประเมินมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ .990 รองลงมาคือการจัดการการสร้าง การเข้าถึงและการสื่อสารมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ .973, .940, .921 และ .895 ตามลำดับ องค์ประกอบที่มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบต่ำสุด คือ จริยธรรมและความปลอดภัย มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ .766 น้ำหนักองค์ประกอบทุกตัวมีนัยสำคัญทางสถิติและโมเดลสมมติฐานมีลักษณะคงเดิมตามทฤษฎีไม่มีการเปลี่ยนรูปแสดงว่าตัวชี้วัดการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลของนักเรียนระดับมัธยมศึกษามีความตรงเชิงโครงสร้าง คำสำคัญ: ตัวชี้วัดการรู้เท่าทัน สื่อดิจิทัล ABSTRACT The purpose of this research was to 1) development of digital literacy model for secondary school students 2) check the accuracy of the structure of the digital literacy model for secondary school students. From Multi-stage Random Sampling of 420 secondary school students who are studying form grade 7–12 of the academic 2019, 7 secondary school in Phitsanulok, Thailand. The research instruments were the digital literacy test for secondary school students. Analyze basic statistics with SPSS program and the second order confirmatory factor analysis method by Mplus program. The results of this research found digital literacy model for secondary school students has 6 element 18 indicators as follows : 1) Access 2) Manage 3) Evaluation 4) Creation 5) Communicationand 6) Ethics & Safety. The results checking the validation of the structural validity of indicators of the digital literacy indicators of secondary school students found that the goodness of fit index GFI) between model assumption and empirical data received chi-square as 119.962, p=0.0653, df=98, CFI=0.996, RMSEA=0.024.The height factor loading indicators was the evaluation (.990), followed by manage .973), creation .940, access (.921), communication (.895) and the low factor loading indicators was the ethics & safety (.766.Statistical analysis results thus confirmed the research hypotheses. The digital literacy indicators of secondary school students are construct validity. Keywords: Indicators, Digital Literacy
Article Details
How to Cite
อ๊อสวงศ์ อ., & ประจันบาน ป. (2020). การพัฒนาตัวชี้วัดการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา A DEVELOPMENT OF DIGITAL LITERACY INDICATORS FOR SECONDARY SCHOOL STUDENTS. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 15(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/12915
Section
บทความวิจัย (Research Articles)