ความเชื่อมั่นด้าน TPACK ของนิสิตครูจากรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับครูวิทยาศาสตร์

Main Article Content

ทัศตริน วรรณเกตุศิริ
วิทัศน์ ฝักเจริญผล
ธนรัตน์ แต้วัฒนา

Abstract

บทคัดย่อ ความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยี (TPACK)เป็นกรอบความคิดในการพัฒนาวิชาชีพครูในศตวรรษที่ 21 งานวิจัยนี้มีเป้าหมายในการตรวจสอบมุมมองทางด้านICT ในการสนับสนุนการสอนและการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ผ่านกรอบแนวคิด TPACK โดยรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับครูวิทยาศาสตร์ถูกออกแบบมาสำหรับนิสิตครูชั้นปีที่สาม เพื่อพัฒนาทักษะการสอนโดยการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ รวมถึงการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการสร้างสื่อการสอน e-Book และ รายวิชาออนไลน์บนระบบ Moodle เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม จำนวน 25 ข้อ แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ ความรู้ด้านเทคโนโลยี ความรู้ด้านเทคโนโลยีผนวกความรู้ ความรู้ด้านเทคโนโลยีผนวกการสอน และความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยี เครื่องมือได้รับการตรวจสอบผ่านการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจ มีความเชื่อมั่นเพียงพอ (Cronbach’s alpha= .90) แบบสอบถามถูกใช้ก่อนและหลังเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ค่าที พบว่าความมั่นใจในทุกทักษะ TPACKเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะความมั่นใจในการใช้ Web 2.0 (t (42) = 3.64, p < .001) และระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ (t (42) = 6.77,    p < .001) นอกจากนี้ยังพบว่านิสิตใช้เวลาศึกษาด้วยตนเองผ่านอินเทอร์เน็ตมากขึ้น (t (42) = 2.45, p < .01) แต่ความมั่นใจในทักษะการค้นหาและใช้ภาพเคลื่อนไหวเพื่อสาธิตหรือเพื่อสอนเนื้อหาใดเนื้อหาหนึ่งหรือเพื่อหลีกเลี่ยงความเข้าใจคลาดเคลื่อนยังอยู่ในระดับต่ำ คำสำคัญ: ความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยี (TPACK) การพัฒนาวิชาชีพครู   ABSTRACT Technological Pedagogical Content Knowledge (TPACK) is distributed as a framework for teacher professional development in the 21st century. The study aims to investigate the perspective of ICT to support teaching and learning science through the lens of TPACK. The ICT for Science Teacher course was designed for the third-year science teacher students to develop teaching skills using current computer technologies. In the course, multiple computer programs were used to create learning material, e-book and online courses on Moodle. The rating scale questionnaire consisted of 25 statements in 4 domains: Technological Knowledge (TK), Technological Content Knowledge (TCK), Technological Pedagogical Knowledge (TPK), and Technological Pedagogical Content Knowledge (TPACK). It was validated through exploratory factor analysis and reliability proved sufficient (Cronbach’s alpha equals .90). It was administered before and after taking the course. The  t-test analysis was conducted and we found that the confidence on all TPACK skills increased, specifically, the confidence on the usage of Web 2.0 (t (42) = 3.64, p < .001) and on the online Learning Management System      (t (42) = 6.77, p < .001). Also, the self-learning time through the Internet significantly increased (t (42) = 2.45, p < .01). However, the results show that the teacher students’ confidence is quite low in terms of searching and using online animation to demonstrate or teach specific content and avoidscience misconceptions. Keywords: Technological Pedagogical Content Knowledge (TPCK), Teacher Professional Development

Article Details

How to Cite
วรรณเกตุศิริ ท., ฝักเจริญผล ว., & แต้วัฒนา ธ. (2019). ความเชื่อมั่นด้าน TPACK ของนิสิตครูจากรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับครูวิทยาศาสตร์. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 14(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/12299
Section
บทความวิจัย (Research Articles)