ระบบธนาคารสะสมผลการเรียนรู้สำหรับการศึกษาตลอดชีวิตของประเทศไทย

Main Article Content

อรุณี ตระการไพโรจน์

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ทั่วไป เพื่อพัฒนาระบบธนาคารสะสมผลการเรียนรู้สำหรับการศึกษาตลอดชีวิตของประเทศไทย (Thailand Credit Bank System for Lifelong Learning)” ดำเนินการวิจัยโดย 1) ศึกษาวิเคราะห์หลักการ แนวคิดและพัฒนาการของแนวคิดเรื่องระบบสะสมผลการเรียนรู้  2) ศึกษาสภาพปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับการเทียบโอนผลการเรียนรู้ ระบบทะเบียน และวัดผลของหน่วยงานการศึกษาในประเทศไทยและการบริหารจัดการการสะสมผลการเรียนรู้ 3) ออกแบบระบบธนาคารสะสมผลการเรียนรู้ ที่เหมาะสมและมีความเป็นไปได้สำหรับการศึกษาตลอดชีวิตของประเทศไทยการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้การวิจัยเอกสารและสัมภาษณ์ผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องกับกลไกการเทียบโอน ระบบทะเบียน วัดและประเมินผล รวมทั้งระบบสารสนเทศในหน่วยงานการศึกษาจากส่วนกลางจำนวน 8 แห่งทั้งในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ และสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสถานศึกษาในพื้นที่ภาคสนามทุกสังกัดจำนวน 37 แห่งใน 5 ภาค เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสังเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินการตรวจสอบร่างระบบในขั้นต้นวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)  แล้วตรวจสอบร่างระบบในขั้นต้นด้วยการจัดประชุมกลุ่ม Focus Group โดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีคุณสมบัติและประสบการณ์ทั้งในระดับนโยบายและในการจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐาน การอาชีวศึกษา การอุดมศึกษา การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย แล้วนำผลมาปรับปรุงเป็นระบบที่สมบูรณ์ในการพัฒนาระบบธนาคารสะสมผลการเรียนรู้สำหรับการศึกษาตลอดชีวิตของประเทศไทย ผลการวิจัย พบว่า 1) การสะสมผลการเรียนรู้ เป็นเรื่องแนวคิดและวิธีการจัดการทางการศึกษา เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไป ได้รับโอกาสในการรับรองผลการเรียนรู้ ตามแนวทางการรับรองผลการเรียนรู้และการให้หน่วยกิต และการรับรองผลการเรียนรู้เดิมของการศึกษานอกระบบ (Non-formal Education) และการศึกษาตามอัธยาศัย (Informal Education) ซึ่งให้การยอมรับในความสำคัญของการศึกษาตลอดชีวิต (Lifelong Education) นำไปสู่แนวคิดพื้นฐานในการสร้างระบบธนาคารสะสมผลการเรียนรู้ (Credit Bank System) ระบบธนาคารสะสมผลการเรียนรู้ หรือชื่อย่อว่า Thai - CBS จึงเป็นระบบงานที่ส่งเสริมให้บุคคลนำผลของการเรียนรู้ที่เกิดจากการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย มาสะสมผลการเรียนรู้ เพื่อนำมาประเมินผลและรับรองผลการเรียนรู้นั้น เทียบเข้าสู่วุฒิการศึกษาในระดับต่างๆหรือเพื่อการบันทึกในบัญชีสะสมผลการเรียนรู้ของตน (Lifelong Credit Saving Account หรือ Learning Account) 2) สภาพปัจจุบันมีการดำเนินงานที่พบว่ายังไม่มีระเบียบ แนวทาง หรือแนวปฏิบัติเรื่องการสะสมผลการเรียน  ผลการเรียนรู้ จากความรู้และประสบการณ์ ในลักษณะระบบธนาคารสะสมผลการเรียนรู้ (Credit Bank System) ในหน่วยงานการศึกษาทุกระดับทุกสังกัด 3) ระบบธนาคารสะสมผลการเรียนรู้สำหรับการศึกษาตลอดชีวิตของประเทศไทย (Thai - CBS) ประกอบด้วยระบบย่อยที่ทำงานภายใต้หลักการที่สำคัญคือ “การรับรองผลการเรียนรู้และให้หน่วยกิต (RVA)” ที่อิงอยู่บนหลักการการศึกษาตลอดชีวิตคือ(1)  การสมัครของผู้ขอลงทะเบียน (2)  การรับเข้า  (3) การขอรับการรับรองผลการเรียนรู้เดิม (4) การเข้ารับการเรียนรู้ (5) การสะสมผลการเรียนรู้ (6) การวัดผล และการประเมินผลการเรียนรู้และ (7) การตรวจสอบและให้คุณวุฒิการศึกษา โดยมีแนวทางสู่การปฏิบัติเพื่อให้ประสบความสำเร็จ 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1  การริเริ่มและการพัฒนาระบบ ระยะที่ 2 การทดลองนำร่อง และระยะที่ 3 การเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ คำสำคัญ:  ระบบธนาคารสะสมผลการเรียนรู้ การสะสมผลการเรียนรู้ การศึกษาตลอดชีวิต การรับรองผลการเรียนรู้และการให้หน่วยกิต การรับรองผลการเรียนรู้เดิม ABSTRACT The general purpose of this research is to develop Thailand Credit Bank System for Lifelong Learning through 1) the study of the principle concept and development of the Credit Bank System; 2) the study of current situation and the operation of academic credit transfer, registration, measurement, the evaluation system and the information system in Thailand; 3) the design and the presentation of Thailand Credit Bank System for Lifelong Education. It is a qualitative research performed by using content analysis, documentation reviewing and interviewing the 8 related Educational Departments of the ministry of education and the local government entities with the coverage of 5 regions of 37 school management interviews. The proposed system of the Thailand Credit Bank System for Lifelong learning was assessed by Academic Professionals through the process of Focus Group. The Thailand Credit Bank System for Lifelong Learning was presented afterwards. The findings of this research reveal the followings: 1) “Credit Bank” is the concept or educational method to promote general public in getting an opportunity to accumulate continuously and get recognition all types of their learning outcomes, from Formal Education, Non-formal Education and Informal Education based on the guidelines of Recognition, Validation and Accreditation – RVA which lead to the basic principle of development of Credit Bank System. Thailand Credit Bank System or “Thai CBS” is a working system that promote individual to bring various learning outcomes and qualifications acquired from Formal Education, Non-Formal Education and Informal Education to be accumulated, accredited for further academy qualification when individual meet certain standard of number of credit or to be recorded into the Lifelong Credit Saving Account or Learning Account. 2) The current situation shows there is no official regulations or guidelines for the accumulation of learning credit from all sources of learning outcome and experiences on the concept of Credit Bank System. 3) The Thailand Credit Bank System for Lifelong Learning composes of 7 subsystems working under concept of the Recognition, Validation, and Accreditation (RVA) based on Lifelong education concept as follows: (1) Registration (2) Admission and Counselling and Account Opening (3) Recognition of Prior Learning - RPL (4) Learning Acquisition (5) Accumulation of Learning Outcomes (6) Credit Measurement and Evaluation       (7) Approval and Degree Award. The practical approach for success is assigned into 3 phases that are 1) The Initial Stage. 2) The System Pilot Run and the Operation and Maintenance System. Keywords: Credit Bank System, Credit Bank, Recognition, Validation and Accreditation, Recognition of Prior Learning, Lifelong Education.

Article Details

How to Cite
ตระการไพโรจน์ อ. (2018). ระบบธนาคารสะสมผลการเรียนรู้สำหรับการศึกษาตลอดชีวิตของประเทศไทย. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 13(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/11054
Section
บทความวิจัย (Research Articles)