ผลของโปรแกรมฝึกความเข้มแข็งของผู้ปกครอง ในการส่งเสริมการดูแลตนเองของบุตรพิการ
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมฝึกความเข้มแข็งของผู้ปกครองในการส่งเสริมการดูแลตนเองของบุตรพิการ กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัย คือ 1) ผู้ปกครองของเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือการ จำนวน 10 คน และ 2) เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหวอายุ 2 -13 ปี จำนวน 10 คน โดยกลุ่มเป้าหมายใช้วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ชุดคู่มือผู้ปกครองการฝึกทักษะการช่วยเหลือตนเอง สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ 2) แบบประเมินทักษะการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ 3) แบบประเมินการฝึกทักษะการช่วยเหลือตนเอง สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ และ 4) แบบประเมินความสามารถของผู้ปกครองหลังใช้โปรแกรมฯ ลักษณะของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นมาตรประมาณค่า 4 ระดับ จาก“ปรับปรุง” ถึง “ดีมาก” มีพิสัยของคะแนนเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 0-3 คะแนนการดำเนินการตามรูปแบบฯ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบแผนการทดลองเป็นแบบการวิจัยกึ่งทดลอง การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณสถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ การคำนวณค่าคะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่ ร้อยละ การทดสอบค่าที t-test (Paired Samples t-test) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพและนำเสนอในรูปแบบของกราฟ ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถของผู้ปกครองในการใช้โปรแกรมฝึกความเข้มแข็งของผู้ปกครองในการส่งเสริมการดูแลตนเองของบุตรพิการอยู่ในระดับดีมาก (คะแนนเฉลี่ยระหว่าง 2.36-2.86) และ 2) คะแนนเฉลี่ยทักษะการช่วยเหลือตนเองของเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหวหลังการทดลองสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001ดังนั้นแสดงว่าโปรแกรมฝึกความเข้มแข็งของผู้ปกครองในการส่งเสริมการดูแลตนเองของ บุตรพิการมีประสิทธิผลอยู่ในระดับดี คำสำคัญ : เด็กที่มีความต้องการพิเศษ ทักษะการช่วยเหลือตนเอง โปรแกรมอบรมผู้ปกครอง ABSTRACT The purpose of this research was to develop the parent’s strength training program to enhancing self-help skills of children with disabilities. The sample of this study consisted of ten parents of children with physical or mobility disability and ten children with physical or mobility disability aged between two to thirteen years old who had been diagnosed by a doctor. All of the subjects were selected by purposive sampling.The research instrument consisted of the following: (1) a parental guide set for enhancing self-help skills; (2) a self-help skills in daily life assessment form for children with special needs; (3) a self-help skills evaluation form for children with special needs and (4) an assessment form of the ability of parents after using the parent’s strength training program. The research instrument was a 4-point scale from "improvement" to "excellent". The range of the average score ranged from 0-3 points. This research utilized Quasi Experimental Research. Data were analyzed by using information in term of mean, percentage and t-test (Paired Samples t-Test) and also presented in qualitative data and the form of graphs. The research results were as follows:(1) the ability of parents after using the parent’s strength training program had a good performance level (average score is between 2.36-2.86) (2) children with physical or mobility disability had higher scores in self-help skills after using in a program. The difference was statistically significant at .001 level. Therefore, the effectiveness of the parent’s strength training program to enhancing self-help skills of children with disabilities was found to be effective in enhancing the self-help skills of children with disabilities. Keywords : Children with Disabilities, Self-Help Skills, Parent’s Training Program
Article Details
How to Cite
บุญกาญจน์ ฑ. (2018). ผลของโปรแกรมฝึกความเข้มแข็งของผู้ปกครอง ในการส่งเสริมการดูแลตนเองของบุตรพิการ. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 13(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/11041
Section
บทความวิจัย (Research Articles)