การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยบูรณาการรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียนเพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษ

Main Article Content

เพียรศิลป์ ปินชัย

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการเรียนของผู้เรียนและการใช้การสอนเขียนโดยการเสริมต่อการเรียนรู้เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนอนุเฉทภาษาอังกฤษของผู้เรียนโดยกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักศึกษาที่เรียนวิชา Intensive English ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง  2 กลุ่ม ตามตอนเรียนโดยแบ่งเป็นผู้เรียนกลุ่มทดลอง จำนวน 37 คนที่ได้รับการเรียนโดยวิธีสอนเขียนแบบเสริมต่อการเรียนรู้โดยมีการวัดรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียนในชั้นเรียน และผู้เรียนกลุ่มควบคุมจำนวน 37 คนที่เรียนโดยวิธีสอนเขียนแบบเสริมต่อการเรียนรู้โดยไม่มีมีการวัดรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียนในชั้นเรียนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการสอนเขียนอนุเฉทโดยการเสริมต่อการเรียนรู้การเขียนโดยคำนึงถึงรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน และแผนการสอนเขียนอนุเฉทโดยการเสริมต่อการเรียนรู้ และแบบทดสอบความสามารถการเขียนอนุเฉทภาษาอังกฤษ การวิจัยครั้งนี้วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละผลปรากฏว่า ผู้เรียนในกลุ่มทดลองส่วนใหญ่มีรูปแบบการเรียนรู้แบบกลุ่ม ทั้งนี้หลังจากพัฒนารูปแบบการการสอนให้สอดคล้องกับรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียนกลุ่มทดลองดังกล่าวแล้วติดตามผลการทดสอบความสามารถการเขียนของผู้เรียนทั้งสองกลุ่มแล้วพบว่า ทั้งผู้เรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีพัฒนาการด้านการเขียนที่ดีขึ้นตามลำดับ แต่ผู้เรียนในกลุ่มทดลองมีการพัฒนาความสามารถทางด้านการเขียนที่ดีขึ้นไปในทิศทางเดียวกันมากกว่าผู้เรียนในกลุ่มควบคุม คำสำคัญ : รูปแบบการเรียนรู้ การเสริมต่อการเรียนรู้ การพัฒนาการจัดการเรียนการสอน ABSTRACT The purpose of this research was to study and develop lesson plans regarding students’ learning style preferences in order to compare students’ paragraph writing ability by implementing scaffolding writing instruction with students’ learning style preferences in one group and implementing scaffolding writing instruction without students’ learning style preferences in another. Target groups were 74 students (37 students in a controlled group and 37 students in an experimental group) enrolling in Intensive English class in the 1st semester, academic year 2016. Research instruments were scaffolding writing instruction with students’ learning styles preferences lesson plans for the experimental group, scaffolding writing instruction without students’ learning style preferences lesson plans for the controlled group, and paragraph writing ability tests for both groups. The data were analyzed for mean, standard deviation, and percentage. The result showed the improvement of both controlled and experimental groups. However, the experimental group has improved better when taking a look at the standard deviation. Keywords: Learning Styles, Scaffolding Writing, Instructional Model Development

Article Details

How to Cite
ปินชัย เ. (2018). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยบูรณาการรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียนเพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษ. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 13(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/10411
Section
บทความวิจัย (Research Articles)