ภาพสะท้อนจากการวิจัยประเมินโครงการร่วมสร้างเสริมการเรียนรู้เพื่อสุขภาวะโดยเครือข่ายครูมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี

Main Article Content

พิศมัย รัตนโรจน์สกุล
จิตติมา เจือไทย
ธันยา รุจิเสถียรทรัพย์

Abstract

บทคัดย่อ บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ผลสำเร็จของการดำเนินงานโครงการร่วมสร้างเสริมการเรียนรู้เพื่อ  สุขภาวะ โดยเครือข่ายครูมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ซึ่งเป็นภาพสะท้อนจากการประเมินโครงการ ผ่านวิธีวิทยาของการสร้างทฤษฎีฐานราก ผลการศึกษาพบว่า ความสำเร็จของการดำเนินงานที่นำ ไปสู่การสร้างเสริมสุขภาวะอย่างเป็นองค์รวมนั้น เกิดขึ้นจากเงื่อนไขสำคัญ 2 ประการ คือ 1) แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์งานของครู และ 2) ความรู้และกระบวนการเรียนรู้ที่สั่งสมในตัวครู ซึ่งมีคุณลักษณะสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จของโครงการ ได้แก่ ความรู้ในตัวครูเป็นความรู้บนกระบวนทัศน์ใหม่ เป็นความรู้เชิงบูรณาการ เป็นความรู้ที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริงไม่ยึดติดกับตำรา ส่วนการจัดการเรียนรู้ของครูมุ่งสร้างการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนจากภายในจิตใจ คำนึงถึงความถนัดและเชาว์ปัญญาที่ต่างกัน และเน้นกระบวนการเรียนรู้ทางสังคม ดังนั้น การให้ความสำคัญกับการสร้างแรงบันดาลใจ การสร้างความรู้ และการเรียนรู้ของครู     รุ่นใหม่ เพื่อนำไปสู่การสร้างกระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงในการพัฒนาคุณภาพของครูทั้งระบบ เพื่อส่งผลให้การพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นไปอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต อันจะนำไปสู่การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาศักยภาพของพลเมืองไทย ให้มีสุขภาวะที่ดี และพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกอย่างรู้เท่าทัน คำสำคัญ : การเรียนรู้ สุขภาวะ เครือข่ายครูมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ABSTACTThis research article had the objective to analyze the achievement of the Enhancing Participatory Learning for Well-being Project by Teachers Network of Princess Maha Chakri Award Foundation, namely, the reflection of the project evaluation through the methodology of grounded theory. The findings revealed that the integrated well-being of physical, mental, social, and intellectual aspects could be achieved only by the two conditions as follows: 1) Inspiration of teachers to do things creatively, and 2) Knowledge and learning process accumulated in the teachers with the major characteristics leading to the success of the project. For example, the teachers’ knowledge should be based on the new paradigms whereas such knowledge should be integrated and linked to the real life not any textbook. In regard with the learning management, the students should be educated from the inner with the emphasis on the different ability and intellect of the students including the social learning process. As a result, to improve the quality of the teachers throughout the system, the importance should be paid to the building of inspiration, knowledge, and learning of the new-generation teachers so that the new educational paradigms can be created. Achieving this, the learning of the students will be continuously improved resulting finally in the learning society, potential of Thai people for good well-being, and wise cope with the changing global society. Keywords : Learning , Well-beling ,Teachers Network of Princess Maha Chakri Award Foundation

Article Details

How to Cite
รัตนโรจน์สกุล พ., เจือไทย จ., & รุจิเสถียรทรัพย์ ธ. (2018). ภาพสะท้อนจากการวิจัยประเมินโครงการร่วมสร้างเสริมการเรียนรู้เพื่อสุขภาวะโดยเครือข่ายครูมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 13(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/10410
Section
บทความวิจัย (Research Articles)