ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา ในจังหวัดพิษณุโลก
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพภาวะผู้นำของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดพิษณุโลก 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของอาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาและ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะและความต้องการเกี่ยวกับภาวะผู้นำของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดพิษณุโลก กลุ่มตัวอย่างได้แก่อาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 327 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามเพื่อศึกษาสภาพภาวะผู้นำของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดพิษณุโลกและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความถี่ค่า t-test และ ANOVA ผลจากการศึกษา พบว่า ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดพิษณุโลก โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้เป็นเพราะว่าผู้บริหารได้ปฏิบัติตนได้ครอบคลุมทั้ง 7 ด้าน โดยด้านที่ปฏิบัติในระดับสูงที่สุดอันดับแรก ได้แก่ ผู้นำในฐานะผู้เข้าสังคมได้เป็นอย่างดี การเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และตำแหน่งหน้าที่ ที่มีต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดพิษณุโลก รายด้านในภาพรวม ไม่แตกต่างกัน ข้อเสนอแนะและความต้องการสูงสุดได้แก่ ผู้นำต้องเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ ก้าวทันกับการเปลี่ยนแปลง ผู้นำต้องเป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม ผู้นำต้องเป็นแบบอย่างที่ดีทั้งกาย วาจา ใจ และผู้นำต้องขวนขวายหาความรู้เพิ่มเติมอย่างสม่ำเสมอ คำสำคัญ : ภาวะผู้นำของผู้บริหาร สถาบันอุดมศึกษา จังหวัดพิษณุโลก ABSTRACTThis research aimed 1) to study leadership and management ofhigher education institutions in Phitsanulok 2) to compare the opinions of teachers and education personnel in higher education institutions in Phitsanulok. 3) to study the recommendations and requirements of leadership and management of higher education Institutions in Phitsanulok. The samples included 327people used to gather information. The instrument was leadership and management state questionnaire. The statistics used in this study are the mean, standard deviation, frequency, t-test and ANOVA. The study found that the leadership and management of higher education institutions in Phitsanulok. Overall, in high level because the administrators practice coveried all of the seven types. The highest level was leadership as a social participant. The comparison of the samples by genders on the leadership and management of higher education Institutions in Phitsanulok each type in overall; no difference. Suggestions and demands are highest. Leaders must have vision, keep pace with change. Leaders need to be morally and ethically, Leaders must set a good example of body, speech and mind and leaders must strive to learn more regularly. Keywords: Leadership of Administrators, Higher Education Institutions, Phitsanulok Province
Article Details
How to Cite
รักเลี้ยง ป., ภูรีพงศ์ ก., & พราหมณ์ศิริ ร. (2018). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา ในจังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 13(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/10408
Section
บทความวิจัย (Research Articles)