การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาวิทยาศาสตร์โดยใช้กลวิธีเมตาคอกนิชันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ และ ความสามารถในการแก้ปัญหาวิทยาศาสตร์ โดยใช้กลวิธีเมตาคอกนิชันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง ปีการศึกษา 2559 จำนวน 98 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท (1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง แรงและโมเมนต์ ที่สร้างตามขั้นตอนของกลวิธีเมตาคอกนิชัน จำนวน 6 แผน และ (2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และแบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาวิทยาศาสตร์ โดยใช้กลวิธีเมตาคอกนิชัน ประกอบด้วย3 ขั้นตอน คือ ขั้นการวางแผนแก้ปัญหา ขั้นการกำกับการแก้ปัญหา และขั้นการประเมินการแก้ปัญหาการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติพื้นฐาน คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เปรียบเทียบด้วยค่าสถิติ t–test for dependent Samples ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและโมเมนต์ โดยใช้วิธีเมตาคอกนิชัน พบว่านักเรียนทำคะแนนแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 จำนวน 65 คน คิดเป็นร้อยละ 66.33 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด 2. ความสามารถในการแก้ปัญหาวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและโมเมนต์ โดยใช้กลวิธีเมตาคอกนิชัน พบว่า ความสามารถในการแก้ปัญหาวิทยาศาสตร์หลังเรียน (M = 64.67, SD = 7.65) สูงกว่าความสามารถในการแก้ปัญหาวิทยาศาสตร์ก่อนเรียน (M = 22.13, SD = 8.59) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คำสำคัญ : ความสามารถในการแก้ปัญหา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ กลวิธีเมตาคอกนิชัน ABSTRACT This study aimed to study academic achievement of science and problem - solving ability in science by metacognitive method of student in grade 9 of Ramkhamhaeng University Demonstration School. 98 samples participate this study. The instrument for this experiment was a 6-pages lesson plan of force and momentum which applieed metacognitive method. This study collected data by academic tests of science and problem solving ability in science by metacognitive method. The test consisted of 3 steps: planning in solving problem, acting in solving problem, and evaluating solving problem. Those data was analyzed by percentage, mean, standard deviation, and t- test dependent samples. The result showed that 66.33% of student or 65 samples pass the criteria of 70% in the test. Problem solving ability in force and momentum by metacognitive method after the class showed mean 64.67 and standard deviation 7.65, which was higher that before the class, men 22.13 and standard deviation 8.59 with significant level 0.05 Keywords : Problems Solving Ability, Academic Achievement in Science, Metacognition Method
Article Details
How to Cite
เมืองจีน ช. (2018). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาวิทยาศาสตร์โดยใช้กลวิธีเมตาคอกนิชันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 13(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/10402
Section
บทความวิจัย (Research Articles)