แนวทางการพัฒนาบริการสารสนเทศ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการบริการสารสนเทศของผู้ใช้บริการ และเพื่อศึกษา แนวทางการพัฒนาบริการสารสนเทศ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสานโดยวิธีวิจัยเชิงปริมาณ และวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ ผู้ใช้บริการสำนักวิทยบริการ จำนวน 724 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ บรรณารักษ์ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ นักวิชาการศึกษา และนักวิชาการโสตทัศนศึกษา จำนวน 16 คน ผลการวิจัย พบว่า ผู้ใช้มีความต้องการบริการสารสนเทศโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก จำแนกตามรายด้าน พบว่า ด้านทรัพยากรสารสนเทศอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ด้านบุคลากรผู้ให้บริการ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก และด้านบริการสารสนเทศ ตามลำดับ ส่วนแนวทางการพัฒนาบริการสารสนเทศ พบว่า มี 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านทรัพยากรสารสารสนเทศ เพิ่มจำนวนทรัพยากรสารสนเทศ และฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้ครอบคลุมหลักสูตรเรียนการสอนตรงกับความต้องการของผู้ใช้ 2) ด้านบริการสารสนเทศ จัดบริการดาวน์โหลดทรัพยากรสารสนเทศฉบับเต็มด้วยคิวอาร์โค้ด จัดเรียงหนังสือบนชั้นให้เป็นระเบียบ และจัดบริการสนับสนุนการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษา 3) ด้านบุคลากรผู้ให้บริการ พัฒนาบุคลากรด้านจิตบริการและทักษะความรู้ความสามารถในการให้บริการ และ 4) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก บริการเครือข่ายไร้สาย ครอบคลุมพื้นที่บริการของห้องสมุด เพิ่มที่นั่งอ่านให้เพียงพอ เพิ่มห้องเรียนรู้รายเดี่ยวและรายกลุ่ม จัดบรรยากาศของห้องสมุดให้มีความเป็นวิชาการ เงียบสงบ เอื้อต่อการเรียนรู้ และมีมุมอาหารและเครื่องดื่ม นอกจากนี้ควรเพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับบริการที่มีให้ผู้ใช้บริการทราบอย่างทั่วถึงThis study aimed at examining users’ information services needs and guidelines for information services development of Academic Resource Center Mahasarakham University. This study employed mixed methods of research. The samples for quantitative research was 724 of library users. The samples for qualitative research included sixteen of librarians, computer technical officers, academic officers, and academic audiovisual officers. The research findings revealed that overview of users’ information services needs was at a high level. When each aspect was considered, it found that the aspect of information resource was at highest level. The second level was the aspect of information service, the aspect of facilities, while the aspect of information services was the last level. As for the guidelines for information services development, the data revealed that the library had to develop 4 elements: 1) information resources – increasing copies of information resources and electronics database that meet the university curriculums and users’ need 2) information services- providing information downloading by using QR code, shelving order of library materials on the bookshelves, and providing services for graduate education 3) service providers- developing personal about service mind, service competencies and 4) facilities- providing access point in the library area, increasing reading area and self or group study rooms, arranging library atmosphere that conductive to learning, and providing coffee and beverage corner. Besides, the library should improve their public relation to reach target users.
Downloads
Download data is not yet available.
Article Details
How to Cite
เทียมแก้ว น. (2018). แนวทางการพัฒนาบริการสารสนเทศ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. บรรณศาสตร์ มศว, 11(1), 130–140. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/view/10142
Section
Research Articles