พัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมการประกอบอาชีพอิสระเรื่องการติดตั้งระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้าในอาคาร

Authors

  • อุดมศักดิ์ จิตสงบ
  • ไพรัช วงศ์ยุทธไกร
  • โอภาส สุขหวาน

Abstract

บทคัดย่อ              การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำการพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมการประกอบอาชีพอิสระ เรื่องการติดตั้งระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้าในอาคาร และศึกษาประสิทธิภาพของหลักสูตรที่ได้พัฒนาขึ้น  การสร้างหลักสูตรการฝึกอบรมการประกอบอาชีพอิสระ เรื่องการติดตั้งระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้าในอาคาร สร้างขึ้นจากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยใช้รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของทาบา โดยมีโครงสร้างของเนื้อหาหลักสูตรมีจำนวน 9 หน่วย ได้แก่ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1  อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ภายในอาคาร หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 พื้นฐานวงจรไฟฟ้าภายในอาคาร  หน่วยการเรียนรู้ที่ 3  การเดินสายไฟภายในอาคาร หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 การติดตั้งอุปกรณ์แผงควบคุมไฟฟ้า หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ความปลอดภัยในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 หลักการทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้า หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 การติดตั้งอุปกรณ์ส่องสว่าง หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 การติดตั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดต่างๆ และหน่วยการเรียนรู้ที่ 9 การประเมินราคา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยกันสามส่วน ส่วนที่หนึ่ง ได้แก่ แบบทดสอบความรู้ ความเข้าใจ ระหว่างการฝึกอบรม และแบบประเมินทักษะระหว่างการฝึกอบรม ส่วนที่สองได้แก่ แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจหลังการฝึกอบรม และส่วนที่สามแบบสอบถามความคิดเห็นต่อหลักสูตรการฝึกอบรม ข้อกำหนดผู้เข้ารับการฝึกอบรมต้องเป็นผู้ที่สนใจในด้านการติดตั้งระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้าในอาคาร จบการศึกษาตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ขึ้นไป และมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป กลุ่มตัวอย่างมีผู้เข้ารับการฝึกอบรมจำนวน 10คน อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดนครปฐม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 และ t-test              ผลการวิจัยพบว่าประสิทธิภาพของหลักสูตรการประกอบอาชีพอิสระ เรื่องการติดตั้งระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้าในอาคาร มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 88.25/88.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ โดยมีประสิทธิภาพความรู้และทักษะระหว่างเรียนรวมกันของแต่ละหน่วยดังนี้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 E1= 87.00 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 E1= 89.47 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 E1= 85.90 หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 E1= 90.52 หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 E1= 88.00 หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 E1= 87.00 หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 E1= 88.95 หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 E1= 86.50 และหน่วยการเรียนรู้ที่ 9 E1= 90.71 และมีประสิทธิภาพความรู้หลังเรียน E2= 88.50 ผลการประเมินความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักสูตรมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ = 3.96 SD = 0.13 อยู่ในระดับดีและไม่แตกต่างกับเกณฑ์ที่กำหนดอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 t-test = -1.193 คำสำคัญ: การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรม, การประกอบอาชีพอิสระ, การติดตั้งระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้าในอาคาร Abstract               The purposses of this research were to develop a training curriculum on electrical equipment and system in building installation for self-employment and to study the efficiency of a training curriculum development on electrical equipment and system in building installation for self-employment. This training curriculum was developed from Taba model and the related studies. The contents of this curriculum consists of 9 units there are, Unit 1: Electrical equipments and tools, Unit 2 : Basic of electrical circuit in building, Unit 3 : Wiring in building, Unit 4 : Switchboard Installation, Unit 5 : Safety for electrical operation, Unit 6 : Principle of electrical equipment, Unit 7 : Lighting installation, Unit 8 : Electrical equipment and system installation and Unit 9 : Cost calculation. The tools used for data collection were knowledge/comprehensive tested both during and after the training courses as well as an opinion questionnaire on the training curriculum. The criteria of the trainee is have to finished primary school, age above 18 years and is, interested in electrical equipment and system in building installation for self-employment. The samples were 10 people who live in Nakornprathom province. The statistical tools used to analyzed data were Mean, Standard Deviation, E1/E2  and t-test                The result of the study found that : The efficiency of the training curriculum on electrical equipment and system in building installation for self-employment in terms of knowledge and comprehension E1/E2  were 88.25/88.50 which is higher than the criteria 85/85. The efficiency in each unit were. Unit 1: E1 = 87.00, Unit 2: E1 = 89.47, Unit 3: E1 = 85.90, Unit 4: E1 = 90.52, Unit 5: E1 = 88.00, Unit 6: E1 = 87.00, Unit 7: E1=88.95, Unit 8: E1 = 86.50, Unit 9: E1 = 90.71 and E2 = 88.50. The result on the opinion of training curriculum on electrical equipment and system in building installation for self-employment is in good level and there is no significant difference at 0.05,  = 3.96, SD =0.13, t-test = -1.193.Keyword: Training Curriculum Development, Self-employment, Electrical Equipment and System in Building Installation.

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

อุดมศักดิ์ จิตสงบ

Industrial Education division

Downloads

Published

2011-01-01