ประสิทธิภาพของระบบบำบัดน้ำเสียแบบใช้ออกซิเจน เพื่อพัฒนาบทปฏิบัติการสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนภัทรพิทยาจารย์

Authors

  • สกล ขุขันธิน
  • สนอง ทองปาน
  • ณัฏฐพงษ์ เจริญพิทย์

Abstract

บทคัดย่อ               การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของระบบบำบัดน้ำเสียแบบใช้ออกซิเจน ในรูปของการลดปริมาณสารอินทรีย์ และสารแขวนลอยในน้ำเสีย 2) เพื่อพัฒนาบทปฏิบัติการ เรื่อง การบำบัดน้ำเสีย ให้มีคุณภาพในระดับดี และมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และเจตคติต่อทรัพยากรน้ำของนักเรียนหลังการใช้บทปฏิบัติการ เรื่อง การบำบัดน้ำเสีย               แหล่งข้อมูลในการวิจัยมีดังนี้ 1) แหล่งน้ำที่ใช้วิเคราะห์คุณภาพน้ำ ใช้น้ำทิ้งรวมจากอาคารต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ 2) การศึกษาประสิทธิภาพของบทปฏิบัติการและการศึกษาผลการเรียนรู้ ใช้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนภัทรพิทยาจารย์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก เป็นแหล่งข้อมูล               การศึกษาคุณภาพน้ำกระทำโดย วัดค่าคุณภาพน้ำตามค่าพารามิเตอร์ 6 ตัว ได้แก่ ค่าอุณหภูมิ ค่าความเป็นกรด–ด่าง ค่าดีโอ ค่าบีโอดี ค่าซีโอดี ค่าน้ำมันและไขมัน และค่าของแข็งแขวนลอย แล้วนำมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำที่กำหนด ส่วนการศึกษาประสิทธิภาพของบทปฏิบัติการกระทำโดยการเทียบค่าสัดส่วนระหว่างค่าเฉลี่ยของค่าร้อยละของคะแนนจากบทปฏิบัติการ 5 บท (E1) กับค่าร้อยละของคะแนนการสอบภาพรวม (E2) สำหรับการศึกษาผลการเรียนรู้ทั้ง 3 ด้าน กระทำโดยการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างคะแนนก่อนเรียนกับคะแนนหลังเรียนของผลการเรียนรู้แต่ละด้าน โดยการทดสอบค่า t-test กรณีข้อมูลคู่ขนาน (dependent data) ที่ระดับนัยสำคัญ .05                  ผลการวิจัยมีดังนี้                     1. ค่าคุณภาพน้ำ ปรากฎว่า ค่าคุณภาพน้ำ 5 ค่า คือ ค่าอุณหภูมิ ค่าความเป็นกรด–ด่าง ค่าดีโอ ค่าบีโอดี ค่าน้ำมันและไขมัน และค่าของแข็งแขวนลอย เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน ส่วนค่าซีโอดี มีค่าเกินกว่ามาตรฐาน (ซึ่งบ่งชี้ว่าคุณภาพน้ำยังไม่ดีพอ) เล็กน้อย                     2. บทปฏิบัติการมีประสิทธิภาพ (E1/E2) มีค่า 80.26/80.71 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80                     3. ผลการเรียนรู้ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และด้านเจตคติต่อทรัพยากรน้ำของนักเรียนภายหลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนด้วยบทปฏิบัติการคำสำคัญ: บทปฏิบัติการ, การบำบัดน้ำเสียแบบใช้ออกซิเจน, มลพิษทางน้ำ Abstract              The purposes of this research were:  1) to study the efficiency of anaerobic “Wastewater Treatment” system to reduce the organic substances from the solution and suspension. 2) to develop laboratory direction on “Wastewater Treatment” to obeain high quality and the efficiency index of 80/80. 3) to investigate the students’ achievement on science process skills  and attitude towards water resource after learning  through the laboratory direction on “Wastewater Treatment”               The data were collected from:  1) analyzed waste water from the buildings in Srinakharinwirot University, Ongkarak 2) investigating the efficiency of laboratory directions and the Mathayomsuksa IV students’ achievement at Patarapittayagan school.               The sample were 40 mattayomsuksa IV students, in the first semester of 2009 academic year at Patarapittayagan school.              The efficiency of “Wastewater Treatment” system was done by analyzing temperature, pH, DO, BOD, COD, Oil and Grease, Suspended Solids from wastewater and compared to the standardization of water quality. The efficiency of laboratory directions “Wastewater Treatment” was conducted by comparing to the summation of mean score percentage from 5 chapters (E1) with the summation of examination scores percentage (E2). The study of learning out come was statistically analyzed by computation from mean score before and after learning through laboratory directions “Wastewater Treatment” by  using t-test for significant difference of means at the .05 level.              The result of this study indicated that;                     1. The value of wastewater quality based on temperature, pH, OD, BOD, Oil and Grease, and suspended solid were acceptable according to the standard value, but COD was higher.                     2. The laboratory direction on “Wastewater Treatment” attained the efficiency index at 80.26/80.70                      3. The students’ achievement, science process skills and attitude toward water resource was significantly increased after the experiment. Keyword: Aerobic treatment system,  Laboratory directions, Water pollution

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

สกล ขุขันธิน

Industrial Education division

Downloads

Published

2011-01-01